X
ตำนานแม่นางกวัก

ตำนานแม่นางกวัก

2 ก.ค. 2566
8450 views
ขนาดตัวอักษร

สาวสวยในชุดไทย มักปรากฏเธอนั่งอยู่ในร้านขายสินค้า บ้างอยู่บนหิ้ง บางคนอยู่บนหรือในตู้ขายสินค้า บ้างอยู่กลางร้านอากัปกิริยาที่เห็นจนชินคือมือขวาทำท่ากวักเรียก มือซื้อถือถุงเงิน  เราเรียกเธอ ว่า แม่นางกวัก เรื่องราวของบแม่นางกวักความเชื่อเรื่องแม่นางกวัก ฐานความคิดมีต้นกำเนิดมาจากอินเดีย ผสมผสานเข้ากับสั?นธรรมไทย ครั้งพุทธกาล แม่นางกวักนั้นเดิมมีชื่อว่า นางสุภาวดี เกิดที่มิจฉิกาสัณฑนคร ใกล้กรุงสาวัตถี ในชมพูทวีป เป็นธิดาของสุจิตต์พราหมณ์ กับมารดาชื่อสุมณฑา พราหมณ์ทั้ง 2 มีอาชีพค้าขายสินค้าเล็กๆน้อยๆ พอได้เลี้ยงครอบครัว ต่อมาทั้งสองมีความคิดจะขยายกิจการค้าขายของตน จึงได้ซื้อเกวียนเพื่อจะได้เดินทางไปค้าขายได้ทั่วเมือง มิจฉิกาสัณฑนคร ในการเดินทางไปขายของนางสุภาวดีได้ขอติดตามไปค้าขายกับทั้งสองด้วย  ...ในระหว่างเดินทางนั้น นางสุภาวดีได้มีโอกาสฟังธรรมจากพระมหากัสสปะเถระขณะจาริกแสดงธรรมเทศนาตามหมู่บ้าน นางรู้สึกซาบซึ้งพระธรรมจนเข้าถึงพระรัตนตรัย เมื่อพระมหากัสสปะเถระเห็นนางเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเช่นนั้นจึงได้ประสิทธิ์ประสาทพรให้นางและครอบครัวให้เจริญรุ่งเรืองด้วยทรัพย์สินเงินทองจากอาชีพค้าขายและประสาทพรเช่นนี้ทุกครั้งเมื่อนางสุภาวดีมาฟังธรรม


ต่อมานางสุภาวดีไปค้าขายอีกเมืองมีโอกาสได้ฟังธรรมจากพระสีวลีเถระ ที่จาริกไปแสดงธรรม จนนางมีความรู้แตกฉานในหลักธรรม และได้รับเมตตาจากพระสีวลีเถระเช่นเดียวกับที่ได้จากพระมหากัสสปเถระเช่นกัน ... พระสีวลีเถระเป็นพระอรหันต์ที่ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะผู้เลิศในทางผู้มีลาภมาก เมื่อกำหนดจิตให้พรแก่นางสุภาวดีจึงทำให้มีอานุภาพมาพรของท่านจึงมีพลังเป็นพิเศษ


...ด้วยบุญบารมีและพรที่นางสุภาวดีได้รับจากพระอรหันต์ จึงทำให้เวลานางติดเกวียนไปค้าขายกับบิดามารดาทำให้ค้าขายคล่อง มีความเจริญรุ่งเรืองได้แก้วแหวนเงินทองมาตามลำดับ และต่อมาเมื่อนางไม่ได้ติดเกวียนไปกับบิดามารดา  ก็แตกต่างคือค้าขายไม่คล่องเหมือนเดิม จึงพานางสุภาวดีติดเกวียนไปด้วย ทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองขึ้นเรื่อยๆจนถึงขั้นเศรษฐีมีฐานะมั่งคงขึ้นไปอีก 


ในที่สุดสุจิตต์พราหมณ์กับนางสุมณฑาบิดามารดาของนางสุภาวดีเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเนื่องจากได้เข้าเฝ้าฟังธรรมจากพระพุทธองค์จนได้โสดาปัตติผล จึงได้ถวายอุทยานส้รางเป็นที่พักสงฆ์ และสร้างวิหารใหญ่กลางอุทยานนั้นถวายเป็นวัด ชื่อว่า วัดมัจฉิกาสัณฑาราม และนิมนต์พระสุธรรมเถระ มาเป็นเจ้าอาวาส 


...กาลต่อมาเมื่อเมื่อนางสุภาวดีแก่ชรา จนละสังขารไปแต่คุณงานความดีและความขลังความศักดิ์สิทธิ์ของนางยังคงเป็นที่เล่าขาน ใครต้องการค้าขาย ต้องการความร่ำรวย  จึงมีการสร้างรูปปั้น รูปเคารพ ขึ้นมาและเชิญดวงวิญญาณของนางมาสถิตย์ในรูปปั้น จนทำให้การบูชานางสุภาวดีแพร่หลายกวางไกลออกไปเรื่อยๆ ต่อมาเมื่อลัทธิพราหมณ์และพุทธศานาแพร่หลายเข้ามาในสุวรรณภูมิ และคติความเชื่อและบูชานางสุภาวดีก็เข้ามาด้วย โดยจำลองเป็นรูปหญิงสาวท่าที่นั่งบนเกวียนและทำเป็นรูปกวักมือประหนึ่งเรียกคน เรียกโชคลาภ แก้วแหวนเงินทองเข้ามาสู่ร้านค้าและเคหะสถานบ้านเรืองของผู้เคารพบูชาในสถานที่นั้น จึงเรียนนางสุภาวดีนั้นว่า "นางกวักในปัจจุบัน และผสมผสานความชื่อของไทยเข้าไปในรูปปั้นรูปเคารพโดยการใส่ ปลาเงินปลาทอง ใส่ไซดักเงินดักทอง มือถือถุงเงิน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งแก้วแหวนเงินทองและความอุดมสมบูรณ์เป็นขวัญกำลังใจแก่ผู้คนในการใช้ชีวิตการทำมาค้าขาย ทำมาหากิน เป็นเมตตามหานิยมเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ มาจนถึงทุกวันนี้

Terms of Service © 2025 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)