ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลีนิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวถึงการระบาดของไวรัสกลายพันธุ์ Omicron ว่า ไวรัส Omicron ถือเป็นไวรัสที่มีการกลายพันธุ์อยู่ในระดับที่ต้องจับตาป็นพิเศษ โดยองค์กรอนามัยโลก ขยับความสำคัญเป็นสายพันธุ์ที่ได้รับความสนใจ หรือ Variant of Concern เหตุผลที่องค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญเพราะพบว่าพื้นที่ที่มีการระบาดของไวรัสกลายพันธุ์มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้ออย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นไปได้ว่าไวรัสตัวนี้จะติดเชื้อได้ง่าย แพร่กระจายได้เร็วกว่า
ส่วนข้อกังวลว่าไวรัสจะดื้อวัคซีน
“ ข้อกังวลนั้นมีมีความเป็นไปได้ เนื่องจากเมื่อดูข้อมูลคุณสมบัติของไวรัส Omicron แล้วมีความเป็นไปได้ที่จะดื้อกับภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นกับวัคซีน และภูมิคุ้มกันที่เกิด
จากการติดเชื้อครั้งก่อน และเมื่อดูจากตำแหน่งของการกลายพันธุ์มีโอกาสที่จะทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลง แต่อย่างไรก็ตามการคาดการณ์ว่าวัคซีนจะดื้อยาหรือไม่เป็นการทดลองในห้องทดลอง แต่เมื่อนำมาใช้จริงในชีวิตจริง การตอบสนองต่อวัคซีนขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นด้วย
การเฝ้าระวังต้องทำอย่างไร?
“ เรื่องนี้ในระดับประเทศข้อมูลยังใหม่มาก ต้องดูว่าคุณสมบัติของไวรัสเป็นอย่างไร สิ่งที่ยังตอบไม่ได้คือ Omicron ดื้อวัคซีนมากน้อยแค่ไหน โดยทฤษฏีมันอาจจะดื้น แต่โดยความเป็นจริง ต้องดูว่าที่มามีการระบาดมีผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วหรือไม่และเยังเกิดการติดเชื้อในผู้ที่ฉีดวัคซีนไปแล้วมากน้อยแค่ไหน เป็นเรื่องที่ต้องติดตามข้อมูลใกล้ชิด
ถ้าเป็นไปได้เมื่อยังไม่แน่ใจว่าไวรัสจะมีความรุนแรงมากแค่ไหน สิ่งที่ทำได้คือการจำกัดการเดินทางจากประเทศที่มีการแพร่ระบาดเอาไว้ก่อนจนกว่าจะมีความชัดเจนว่าไม่มีอันตรายหรือมันใจได้ว่าควบคุมได้จึงค่อยผ่อนคลายมาตรการ หลายประเทศได้เริ่มขยับที่จะป้องกันการเดินทางจากประเทศที่มีการแพร่ระบาด ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อปกป้องประชากรของประเทศตัวเอง
“ถึงจะมีข้อมูลว่า Omicron ทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลง แต่ขอให้มั่นใจว่า การทำวิจัยและเก็บข้อมูลในกลุ่มผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วยังไงคนที่เคยได้รับวัคซีนก็จะมีความรุนแรงน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน แม้ว่าไวรัสนั้นจะเป็นไวรัสกลายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงที่จะดื้อวัคซีนก็ตาม คือ ถ้าวัคซีนไม่ได้ช่วยเรื่องลดการติดเชื้อ วัคซีนจะไปช่วยลดความรุนแรงแทน การฉีดวัคซีนช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ เพียงแต่ช่วงนี้คนทีรับวัคซีนครั้งสุดท้ายจะรับไปนานแล้ว ภูมิของวัคซีนอาจจะลดลง การฉีดวัคซ๊นเข็มกระตุ้นภูมิจึงมีความจำเป็นมากในตอนนี้ ถ้าไวัรัสมาระบาดในประเทศไทย คนไทยส่วนใหญ่ฉีดวัคซีนแล้วก็จะมีภูมิต่อสู้กับความรุนแรงของไวรัสได้ โดยจะลดจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงลงไปได้”
ปกติเมื่อเกิดการกลายพันธุ์ของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ จะใช้เวลาไม่นานในการออกแบบวัคซีนใหม่เพียงแต่การถอดดีเอ็นเอของไวรัสกลายพันธุ์ออกมาแล้วออกแบบวัคซีนใหม่ก็จะได้วัคซ๊นที่มาสู้กับไวรัส
ประเด็นอยู่ที่ความสามารถในการผลิตวัคซ๊นให้เร็วทันกับการความต้องการในการรับมือกับการระบาด การผลิตวัคซีนโควิด-19 ตอนนี้ทำได้ดีกว่าช่วยที่มีการแพร่ระบาดแรกๆ เพราะได้มีต้นแบบโครงสร้างแนวทางในการผลิตวัคซีนอยู่แล้ว ความสามารถในการผลิตทำได้เร็วขึ้น
“ส่วนการรักษาที่ต้องเตรียมเมื่อไวรัสมีความสามารถในการดื้อวัคซีนก็จะมีความสามารถในการดื้อต่อยารักษาบางกลุ่ม เราก็ต้องเตรียมความพร้อมในการเตรียมยากลุ่มที่ใช้รักษาได้เข้ามาเพิ่มขึ้น เเรื่องยาก็เหมือนวัคซีน บางทีในชีวิตจริง ไวรัสอาจจะไม่่ดื้อยาก็ได้ ขอให้ประชาชนอย่าพึ่งตระหนกตกใจเกินไปขอให้รอดูข้อมูลให้ชัดเจนก่อน ขอให้ยังคงมาตรการในการดูแลโดยใช้มาตรการาส่วนบุคคล ไม่ว่าจะมีไวรัสอะไร ถ้าเราใส่หน้ากากอนามัยล้างมือเว้นระยะห่างไว้รัสก็ทำอะไรเราไม่ได้”