X
กสม. รับคำร้องแล้ว! ปม “เหยียดคนอีสาน” ปัญหาบูลลี่-สื่อสารสร้างความแตกแยก เตรียมเสนอใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหา

กสม. รับคำร้องแล้ว! ปม “เหยียดคนอีสาน” ปัญหาบูลลี่-สื่อสารสร้างความแตกแยก เตรียมเสนอใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหา

13 ม.ค. 2565
2030 views
ขนาดตัวอักษร

(Bully) คือ การกลั่นแกล้งที่แสดงออกด้วยคำพูด เรื่องของการ “บูลลี่” ในสังคมไทย ยังเป็นปัญหาใหญ่ ข้อมูลจากมูลนิธิเครือข่ายครอบครัวเปิดเผยว่า ประเทศไทยติดอันดับ 2 ในโลกในปี .. 2563 รองจากประเทศญี่ปุ่น จากข้อมูลการบูลลี่ด้วยการใช้ตัวอักษรผ่าน Social Media 


🔻ในปีเดียวกัน Punch Up x Wisesight ได้ร่วมกันเล่าเรื่องผ่านข้อมูลพบว่า คำที่คนไทยใช้บูลลี่กันมากที่สุดเป็นเรื่อง รูปลักษณ์ เพศ และความคิดกับทัศนคติ


 🔻และล่าสุดจากกรณีประเด็นร้อนแรงที่ผ่านมา กรณีวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งตั้งกลุ่มใน “Clubhouse” วิจารณ์คนอีสาน เช่น  อีสานมีลูกเร็ว  ผิวคล้ำดำแดด รวมถึงวิจารณ์เรื่องรสนิยมในการแต่งกาย ทำผม จนประเด็นดังกล่าวถูกแพร่กระจายไปยังโซเชียลอื่นๆ ดันให้แฮชแท็ก #คลับเฮ้าส์toxic ขึ้นเป็นอันดับ 1 ในทวิตเตอร์ 


🔻เหล่าดาราคนบันเทิง ที่มีเลือดอีสาน ทยอยพากันออกมา call out จากกระแสดังกล่าวทำให้ความเกลียดชังได้นำไปสู่ความขัดแย้งทางสังคมในหลายมิติ 


🔻กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) รับพิจารณาปม “เหยียดคนอีสาน” ห่วงปัญหาบูลลี่-สื่อสารสร้างความแตกแยก เตรียมเสนอใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหา


🔻 นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) แถลงว่า กสมได้พิจารณาเรื่องที่มีผู้ร้องเรียนขอให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีบุคคลในสื่อสังคมออนไลน์ Clubhouse กระทำการในลักษณะดูถูก เหยียดหยามและด้อยค่าคนอีสาน ซึ่งเป็นกรณีที่นำไปสู่การถกเถียงของสังคมในวงกว้างเมื่อปลายปี 2564 ที่ผ่านมา


🔻 โดยเห็นว่า กรณีดังกล่าวนอกจากเข้าข่ายละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แล้ว ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญมาตราที่บัญญัติเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) แล้ว


🔻กรณีที่เกิดขึ้นยังเป็นการตอกย้ำว่า สังคมไทยมีปัญหาในด้านการตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิมนุษยชน การเคารพในความแตกต่างของบุคคลทั้งในทางวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิต โดยเฉพาะการสื่อสารที่ลดทอนคุณค่าหรือกระทบกระเทือนจิตใจของผู้อื่น หรือที่เรียกว่า บูลลี่ และการสื่อสารที่สร้างความแตกแยก มีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นตามการพัฒนาของเทคโนโลยีการสื่อสาร ซึ่งทุกภาคส่วนของสังคมควรให้ความสำคัญและพิจารณาหาแนวทางการป้องกันมิให้เกิดปัญหาซ้ำขึ้นอีก


🔻เพื่อเป็นการแก้ไขและป้องกันปัญหาลักษณะเดียวกันที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต กสมจึงมีมติรับคำร้องกรณีการเหยียดหยาม ดูถูกและด้อยค่าคนอีสานไว้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนและจัดทำข้อเสนอแนะมาตรการในการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน และศึกษาเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปด้วยความรอบด้านและมีประสิทธิผล 


🔻รวมทั้งขับเคลื่อนการรณรงค์ เสริมสร้างให้สังคมเกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สร้างสังคมแห่งการเคารพสิทธิมนุษยชนซึ่งกันและกัน

Terms of Service © 2025 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)