X
ออมสิน ธนาคารประชาราษฎร์ สู่ธนาคารเด็ก และเจ้าหนี้รัฐรายใหญ่

ออมสิน ธนาคารประชาราษฎร์ สู่ธนาคารเด็ก และเจ้าหนี้รัฐรายใหญ่

27 ก.ย. 2566
1390 views
ขนาดตัวอักษร

ธนาคารออมสิน ก่อตั้งในปี 2456 หรือในสมัยรัชกาลที่ 6 เดิมชื่อ คลังออมสิน เปลี่ยนเป็นธนาคารออมสิน จุดมุ่งหมายครั้งแรกเพื่อเป็นที่ออมทรัพย์สินของประชาชน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่9 ประกาศใช้ พ.ร.บ.ธนาคารออมสิน พ.ศ. 2489 มีจุดประสงค์ในการจัดตั้งที่เขียนไว้ว่า  สมควรจดตั้งธนาคารออมสินขึ้นเพื่อส่งเสริมสวัสดิภาพแห่งสังคมในทางทรัพย์สิน  โดยธนาคารประกอบธุรกิจ 9 ด้าน คือ รับฝากเงิน ออกพันธบัตร รับฝากเงินเพื่อสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว ทำการรับจ้างและโอนเงิน ซื้อหรือขายพันธบัตรรัฐบาลไทย ลงทุนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ซึ่งรัฐมนตรีอนุญาต ออมสินอื่นตามที่จะมีพระราชกฤษฎีกากำหนด ทำกิจการอันถึงเป็นงานธนาคาร 


สำหรับเหตุผลและความเป็นมาของการเป็นธนาจ้าพระยายมราชาคารเด็กและเป็นที่พึ่งของรัฐในการเป็นแหล่งเงินทุน มีความเป็นมาตามที่ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ได้เขียนไว้ในหนังสือ เรื่องออมสิน มีคำอธิบายเรื่องออมสิน มีสาระสำคัญพอจะสรุปมาดังนี้ ..วาระนี้เป็นวาระที่ตรงกับสมัยวันสวรรคตแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ พระปิยะมหาราช เราจึงมาประชุมกันโดยเฉพาะหน้าพระบรมรูปซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ พระลานนี้ เพื่อสักการะ .... พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชปรารภที่จะทะนุบำรุงอาณาประชาราษฎร จึงทรงจัดการบำรุงพระราชอาณาจักรด้วย ให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ จัดตั้งคลังออมสิน ให้มีขึ้นในพระราชอาณาเขตร์ เพื่อเปิดโอกาสให้ราษฎรผู้มีความคิดอันชอบ คือรู้จักเก็บเล็กผสมน้อยรวบรวมทุนทรัพย์ไว้่ให้อยู่เป็นก้อนเป็นหน่วย ...


จุดประสงค์แรกจริงๆ คือ การตั้งธนาคารขึ้นเพื่อให้คนไทยได้รู้จักการออม ส่วนที่ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกับ เด็ก จนกลายเป็น ธนาคารที่เก็บเงินออมของเด็ก มีคำอธิบายอยู่ในหนังสือเล่มเดียวกัน พอจะทำให้เข้าใจได้ว่า ทำไม ธนาคารออมสิน จึงเป็นธนาคารที่ได้ชื่อว่าเก็บเงินออมของเด็กมากที่สุด “... กว่าที่ราษฎร จะรู้จักอดออมทรัพย์ ว่าเป็นคุณแก่ตัวอย่างไร ยังเป็นเวลาอีกนาน กรมศึกษาธิการก็ได้คิดอ่อนเอาธุรกิจทางนี้อีกส่วนหนึ่ง คือได้จัดให้ครูตามโรงเรียนทั้งหลายเอาเรื่องคลังออมสินและวิธีทำการติดต่อกับคลังออมสินไปสอนเด็กให้โรงเรียนทั่วไป ให้รู้หนทางของการงานและประโยชน์แห่งการอดออม ถนอมทรัพย์ ... “ ข้อความนี่เองจึงอธิบายเราได้ว่า พร้อมกับการตั้งธนาคารออมสิน ได้ให้กระทรวงศึกษาปลูกฝังการออมให้กับเด็ก 


“เพราะเหตุว่าสินคือทรัพย์ ที่เด็กจะออม ไม่ใช่ของเด็กแต่เป็นของผู้ใหญ่ แม้เด็กจะรู้ประโยชน์แต่ไม่มีสินที่จะมาออม ก็ย่อมได้มาจากผู้ใหญ่ คือบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง จะพึงหยิบยกให้เป็นเครื่องออมและเป็นเครื่องฝึกหัดให้รู้จักออม ” มาถึงตอนนี้คงเข้าใจได้แล้วว่าเด็กถูกสอนให้รู้จักการออมเพื่อเป็น คนกระตุ้นให้ เอา เงิน ผู้ใหญ่ มาออม หรือทำให้ผู้ใหญ่ที่เห็นความสำคัญที่จะออมเงินให้ลูกหลาน ออกเงินให้เด็กมาเก็บออม เป็นการจูงใจประชาชนทางอ้อมผ่านเด็กนั่นเอง แต่เมื่อเวลาเปิดบัญชีจึงใช้ชื่อ เด็กชาย เด็กหญิง ดังนั้นชื่อเจ้าของบัญชีจึงเป็นบัญชีเด็กมาตั้งแต่ตอนนั้น 


เจ้าพระยายมราชยังเขียนไว้ในตอนท้ายของคำอธิบายว่า “ข้าพเจ้ามีความยินดี เห็นชอบ ในวิธีทางฝึกเด็กในเรื่องนี้มาก โดยแลเห็นว่า ข้อสำคัญของคนเราทั้งหลายซึ่งเป็น สำคัญที่สุดก็อยู่แก้จริยคุณเป็นยิ่งกว่าอื่น และจริยคุณนั้นก็มีความรู้ดำรงตนให้วัฒนาถาวร รู้ทางได้ที่ควรและไม่ควร รู้ทางเสียที่ควรและไม่ควร ... การสอนของกรมศึกษาธิการ ก็ชั่วแต่ประสงค์จะฝึกหัดปลูกเพราะนิสัยเด็กไว้สำหรับให้ได้ประโยชน์ต่อเมื่อเด็กเหล่านั้นได้มีอายุเป็นผู้ใหญ่รับหน้าที่ปกครองตัวเองแล้วเท่านั้น”


ถึงเวลานี้หากรัฐบาลปัจจุบันจะเลือกเอาธนาคารออมสินเป็นแหล่งเงินกู้เพื่อนำเม็ดเงินกว่า 560,000 ล้านบาทมาใช้ในการดำเนินมาตรการเงินดิจิตอลหรือดีต้อ Wallet 10,000 บาทก็จะทำให้ธนาคารออมสินยังคงมีบทบาทเป็นเจ้าหนี้รัฐหรือรัฐบาล (หรือเจ้าหนี้ของคนไทยกันครั้งหนึ่ง )

Terms of Service © 2025 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)