X
เชื้อโควิด หลบยาต้านฯ !!? หมอธีระวัฒน์ เผยมี 3 ลักษณะอาการ

เชื้อโควิด หลบยาต้านฯ !!? หมอธีระวัฒน์ เผยมี 3 ลักษณะอาการ

3 ส.ค. 2565
1550 views
ขนาดตัวอักษร

หมอธีระวัฒน์ เผยมีข้อมูลวิเคราะห์ กรณีผู้ป่วยโควิด กินยาต้านไวรัสแล้ว กลับมาเป็นใหม่ หรือ rebound ซึ่งสาเหตุ จะเกิดจากเชื้อโควิด หลบยาต้านฯ จริงหรือไม่อย่างไร ? และกรณีศึกษานี้ ได้ใช้ยาต้านทั้ง 2 ชนิดนี้ “ยาโมนูลพิราเวียร์” (Molnupiravir) และ “ยาแพกซ์โลวิด” (Paxlovid) ยาต้านชนิดไหน.. ดีกว่ากัน และจะป่วยซ้ำหนักแค่ไหน มีข้อมูลมาแนะนำ

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้โพสต์บทความ หมอดื้อ ผ่านเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2565 กล่าวถึงข้อมูลผู้ป่วยที่ติดโควิด และได้รับยาต้านไวรัสไปแล้ว แต่กลับมาเป็นอีก โดยระบุว่า ติดโควิดได้รับยาต้านไวรัสไปแล้ว กลับมาใหม่อีก อย่าตื่นตระหนก ไม่ได้เป็นทุกราย และมีภาวะส่งเสริม มีสายด่วน สธ. และ สปสช.



การรายงานจากสหรัฐ โดยวิเคราะห์ข้อมูล ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2022 ถึงวันที่ 8 มิถุนายน 2022 ซึ่งเป็นช่วงของโอไมครอน รักษาด้วย paxlovid 11,270 ราย หรือรักษาด้วย molnupiravir 2,374 ราย ภายในระยะเวลา 5 วัน หลังจากมีการติดเชื้อ

การกลับมาใหม่ หรือ rebound มี 3 ลักษณะ คือ

ลักษณะที่ 1. มีเชื้อกลับมาใหม่ จากการตรวจ

ลักษณะที่ 2. มีอาการกลับมาใหม่ ได้แก่ ไข้ หนาวสั่น ไอ หายใจไม่เต็มอิ่ม เหนื่อยล้า ปวดกล้ามเนื้อปวดหัว เจ็บคอ จมูกคัด น้ำมูกไหล ไม่รับรส กลิ่น อาเจียน ท้องเสีย ผื่น

ลักษณะที่ 3. ต้องเข้าโรงพยาบาล ลักษณะที่กลับมาใหม่ ไม่แตกต่างกันของการใช้ยา paxlovid หรือ molnupiravir คนที่มีโรคประจำตัว จะมีการกลับมาใหม่มากกว่า

สำหรับ paxlovid ที่ 7 วัน และ 30 วัน
ลักษณะที่ 1 พบ 3.53 % และ 5.4 %
ลักษณะที่ 2 พบ 2.31 % และ 5.87 %
ลักษณะที่ 3 พบ 0.44 % และ 0.77 %

สำหรับ molnupiravir ที่ 7 และ 30 วัน
ลักษณะที่ 1 พบ 5.86 % และ 8.59 %
ลักษณะที่ 2 พบ 3.75 % และ 8.21 %
ลักษณะที่ 3 พบ 0.84 % และ 1.39 %



เมื่อดูผิวเผิน คล้ายกับการใช้ molnuvipavir จะมีการกลับมาใหม่มากกว่า

แต่เมื่อวิเคราะห์ propensity score matching ซึ่งเป็นวิธีจัดการกับ ตัวแปร และปัจจัยต่าง ๆ เพื่อให้มีความน่าเชื่อถือ แม่นยำมากขึ้น ในการระบุ ความเสี่ยง จะพบว่า ความเสี่ยงระหว่าง การใช้ยาทั้งสองชนิดนี้ ไม่แตกต่างกัน แต่ขึ้นกับ ภาวะ หรือ โรคประจำตัวของผู้ติดเชื้อ มีโรคหัวใจ, ความดันสูง, มะเร็ง, โรคอัมพฤกษ์, โรคปอด, โรคไตโรคตับ, อ้วน, เบาหวาน, โรคทางระบบภูมิคุ้มกัน, การได้รับการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ รวมถึงการให้ยาต้านภูมิคุ้มกัน และไม่เกี่ยวพัน กับการได้รับวัคซีนหรือไม่

สาเหตุกลไกของ การกลับมาใหม่ “ไม่ทราบแน่ชัด” แต่อาจเกี่ยวเนื่อง กับการรักษา ไม่สามารถกำจัดไวรัสไปได้ อย่างหมดจด หรือไวรัสดื้อยา ?

อย่างไรก็ตาม การให้ยาต้านไวรัส อย่างสมเหตุสมผล ตามลักษณะของอาการ ที่เป็นมากขึ้น โดยในคนไทย ที่ใช้ฟ้าทะลายโจรแล้วนั้น ไม่ดีขึ้นภายในระยะเวลา 2 วัน มีความจำเป็น ต้องใช้ยาต้านไวรัส เพื่อป้องกันไม่ให้อาการหนักมากขึ้น จนกระทั่งถึงต้องเข้าโรงพยาบาล


#BackboneMCOT
อ้างอิง และขอบคุณข้อมูล จาก :

เฟซบุ๊ก : ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha
https://www.facebook.com/thiravat.h



อ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ..คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ เขียนเลย
Terms of Service © 2018 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล