X
ไขปริศนา ปรากฏการณ์แปลก “เสาแสง”

ไขปริศนา ปรากฏการณ์แปลก “เสาแสง”

8 ต.ค. 2564
1900 views
ขนาดตัวอักษร

..64- แท่งแสง ส่องแสงเรืองๆ กลางท้องฟ้า เมืองระนอง เมื่อวันที่ 4 ตุลาคมที่ผ่านมา สร้างความตื่นตาให้กับผู้ที่ได้เห็น กับความแปลกประหลาด ไม่เคยเห็นมาก่อน บ้างความเห็นคิดไปว่าหรือแสงนี้จะเป็นแสงจากสิ่งมีชีวิตนอกโลกแท้จริงแล้วแท่งแสงกลางท้องฟ้าคืออะไร NARIT จะมาไขคำตอบ


ค่ำคืนวันที่ 4 ตุลาคม 2564  .ละอุ่น และ .กระบุรี .ระนอง สมาชิกเพจระนอง 239 ได้แชร์ภาพปรากฏการณ์สุดแปลก มีผู้พบเห็นแสงประหลาดมีลักษณะเป็นเส้นแสงแนวตั้ง ปรากฏเหนือท้องฟ้า สร้างความตื่นตาตื่นใจ มีทั้งเห็นว่าอาจเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ หรือแสงจากเรือ หรือคิดจิตนาการไปถึงว่าอาจเป็นแสงจากยานบินของสิ่งมีชีวิตนอกโลก

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือ สดร.(NARIT) ได้นำคำอธิบายจาก ดรบัญชา ธนบุญสมบัติ ผู้เชี่ยวชาญด้านเมฆ ลม ฟ้า และอากาศ และนักวิชาการ สวทชระบุว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดจากการที่มีผลึกน้ำแข็งรูปแผ่นแบน(plate ice crystals) จำนวนมากในอากาศ 

อยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางระหว่างแหล่งกำเนิดแสงและผู้มอง ทำให้แสงจากแหล่งกำเนิดแสงสะท้อนผิวล่างของผลึกน้ำแข็งเหล่านี้ พุ่งตรงไปยังผู้มอง ทำให้ผู้มองเห็นเป็นเส้นแสงในแนวดิ่ง เรียกว่า “เสาแสง หรือ light pillars”

 •

โดยในประเทศที่มีอากาศหนาวเย็นจัด ผลึกน้ำแข็งดังกล่าวมักล่องลอยอยู่ใกล้พื้น ทำให้เห็นเสาแสงพุ่งขึ้นจากพื้นส่วนกรณีอื่นๆ เช่น ปรากฏการณ์เสาแสงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้น เกิดจากผลึกน้ำแข็งในเมฆระดับสูง เช่น เมฆซีร์โรสเตรตัส (Cirrostratus) ทำหน้าที่เป็นตัวสะท้อนแสง จึงเห็นเสาแสงจะปรากฏอยู่สูงจากพื้นค่อนข้างมากนั่นเอง


นอกจากนี้ในการประกวดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ ประจำปี 2564 โดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เป็นอีกครั้งที่มีหลักฐานยืนยันว่าเสาแสง เกิดขึ้นให้เห็นในประเทศไทยได้ โดยภาพนี้มีชื่อว่า “เสาแห่งแสง Light Pillars” ผลงานของนายธีรวัฒน์ ไชยกุลเจริญสิน

คว้ารางวัลรางวัลชนะเลิศ ประเภทภาพถ่ายปรากฏการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของโลก

การประกวดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ ประจำปี 2564 โดยเจ้าของผลงานสามารถบันทึกไว้ได้ที่ เขาแหลมหญ้า จังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2564

นับเป็นอีกปรากฏการณ์หาชมยาก ที่อาจเป็นหมุดหมายให้นักล่าปรากฏการณ์ประหลาดของท้องฟ้าเมืองไทยได้พิสูจน์ฝีมือ นำมาอวดผลงานให้เราได้เห็นกันอีกในครั้งต่อไปนั้นเอง

อ้างอิง > https://www.atoptics.co.uk/halo/lpil.htm

Terms of Service © 2025 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)