X
กองอาสาญี่ปุ่น ร่วมรบกองทัพพระนเรศ

กองอาสาญี่ปุ่น ร่วมรบกองทัพพระนเรศ

25 ก.ย. 2564
3080 views
ขนาดตัวอักษร

25 ..64 - หากใครได้มีโอกาสดู “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเดอะซีรีส์” หรือจะเป็นหนังใหญ่ที่เคยสร้างปรากฎการณ์ในโรงภาพยนตร์ มาแล้ว จะมีบางฉากที่เราได้เห็นว่ากองทัพของพระนเรศ นั้นมีทหารต่างชาติร่วมด้วยหนึ่งในนั้นคือชาวญี่ปุ่น เหตุใดชาวญี่ปุ่นถึงเข้ามาร่วมรบกับกองทัพพระนเรศได้ ติดตามเรื่องราวได้นับจากนี้

ตามประวัติศาสตร์ไทย พบหลักฐานการเข้ามาของชาวญี่ปุ่น ตั้งรกรากทำมาหากินอยู่ในกรุงศรีอยุธยา มาอย่างยาวนาน โดยชาวญี่ปุ่นได้เดินทางเข้ามาค้าขายกับอยุธยาเป็นมิตรทางการค้าที่ดีต่อกัน

หลายความเห็นระบุว่า ตั้งแต่ปี .. 2083 ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากเข้ามาตั้งถิ่นฐานในไทย โดยเฉพาะในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา มีชุมชนชาวญี่ปุ่นในกรุงศรีอยุธยา ตั้งรกรากบริเวณหมู่บ้านญี่ปุ่น อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้ของเกาะเมือง 

รวมทั้งในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีการอพยพกันเข้ามาครั้งละมากๆ ตั้งแต่ 700-7,000 คน บางเป็นพ่อค้าชาวญี่ปุ่นได้ออกไปค้าขายถึงเมืองปัตตานีและนครศรีธรรมราช 

บ้างเป็นโรนิน หรือซามูไรไร้สังกัด ที่ติดมากับกองเรือพาณิชน์ รับจ้างป้องกันจากโจรสลัด รวมถึงเป็นอดีตคนทำงานร่วมกับคนชั้นสูงของญี่ปุ่น เดินทางเข้ามาในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยารวมอยู่ด้วย ซึ่งกลุ่มนี้เองได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้มีฝีมือ เป็นนักรบซามูไรขึ้นชื่อ ได้รับการยอมรับว่าเป็นสู้ที่กล้าหาญ ฉลาด และมีไหวพริบดี

กองอาสาญี่ปุ่น มักได้รับภารกิจจากองค์พระเจ้าแผ่นดิน ให้ช่วยปราบปรามพวกก่อการกบฏตามหัวเมืองต่างๆ หลายครั้ง จนกระทั่งชาวญี่ปุ่นส่วนหน่ึงได้รวบรวมพรรคพวก “ตั้งเป็นกองอาสาญี่ปุ่น” และได้รับความไว้ใจทำหน้าที่เป็นทหารรักษาพระองค์ของพระเจ้าแผ่นดินไทยในสมัยกรุงศรีอยธุยา ตั้งแต่คร้ังยังไม่มีสัญญาทางพระราชไมตรีกันในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

จากข้อมูล “กองอาสาญี่ปุ่น” ได้อาสาออกรบช่วยไทยทาสงครามกับพม่า โดยกองอาสาญี่ปุ่นกองนี้มีจำนวน 500 คน มีออกญาเสนาภิมุขเป็นหัวหน้ากองอาสาญี่ปุ่นได้รับหน้า ท่ีเป็นกองทหารทะลวงฟันป้องกันจอมทัพไทยอยู่ด้านหน้า ช้างทรงของ สมเด็จพระนเรศและพระเอกาทศรถ ในสงครามยุทธหัตถี 

มีบันทึกครั้งสงครามยุทธหัตถี ในปี .. 2133 ว่า “พระเสนาภิมุขขี่ช้างพลายเฟื่องภพไตร ถือพลอาสาญี่ปุ่น 500” โดยพระเสนาภิมุขนี้ เป็นชื่อตำแหน่ง มีชื่อจริงว่า "ออกพระสุมิฮิโร่รับเป็นหัวหน้ากองอาสาญี่ปุ่นในสมัยสมเด็จพระนเรศ

ส่วนนี้มีข้อมูลออกมาชี้แจงว่า เป็นคนละคนกับ “ยามาดะ นางามาซา” ที่ได้รับแต่งตั้งตำแหน่งเป็นออกญาเสนาภิมุขเช่นกัน ที่อยู่ในสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ ตลอดจนถึงสมัยพระเจ้าทรงธรรม และพระเจ้าปราสาททอง เนื่องจากตามข้อมูลแล้วยามาดะ เกิดปี ..2133 ซึ่งไม่สามารถจะรวมสงครามรบกับสมัยของพระนเรศได้นั่นเอง

จึงนับได้ว่ากองอาสาญี่ปุ่น มีบทบาทสำคัญในการรบของทัพพระนเรศ สู่การประกาศอิสระภาพ และรักษาเอกราชของชาติได้นับแต่นั้นมา


โดยเฉพาะในภาพปก เป็นหลักฐานหนึ่งที่ที่บันทึกว่ามีกองอาสาชาวญี่ปุ่น ในทัพไทยมาต่อเนื่องหลายสมัย โดยแต่งกายแบบญี่ปุ่น และโกนผม ร่วมเดินในกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค “กระบวนเพชรพวง” เพื่อถวายผ้าพระกฐิน ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งภาพนี้วาดบนฝาผนังในพระอุโบสถวัดยม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อ .. 2225 และได้รับการคัดลอกลงสมุดไทยไว้เมื่อ .. 2440 ปัจจุบันได้ชำรุดไปหมดแล้ว

หากอยากเต็มอิ่มกับเรื่องราวที่น่าสนใจของประวัติศาสตร์ชาติไทย ติดตามชมซีรีส์ฟอร์มยักษ์ “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเดอะซีรีส์ ภาคองค์ประกันหงสา ได้ทาง ช่อง 9 MCOT HD หมายเลข 30 ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา18.00 .


ขอบคุณที่มา :

https://www.personnel.nu.ac.th/home/images/data/file/hrm/2560/01/document/02.pdf

https://www.facebook.com/963077550379049/photos/a.1180452118641590/1183711081649027/?type=3

https://www.facebook.com/siamhistory/photos/a.435240936530190/470814779639472/?type=3


ขอบคุณภาพ :

กระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค “กระบวนเพชรพวง” เพื่อถวายผ้าพระกฐิน ในรัชการสมเด็จพระนารายณ์มหาราช • https://www.blockdit.com/posts/5eda592fbd98381a165ac710

Terms of Service © 2018 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล