X
กสทช. ห่วง รายการขยี้ข่าว สร้ากระแสเพิ่มความเหลื่อมล้ำ หลังมาแรง 2 ใน 3 ของรายการข่าว

กสทช. ห่วง รายการขยี้ข่าว สร้ากระแสเพิ่มความเหลื่อมล้ำ หลังมาแรง 2 ใน 3 ของรายการข่าว

9 พ.ค. 2567
1630 views
ขนาดตัวอักษร

ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการกสทช. กล่าวเปิดการสัมมา รายการขยี้ข่าว สะท้น หรือซ้ำเติมปัญหาสังคมว่า นิตยสาร Time ฉบับเดือนมีนาคม 2024 ตีพิมพ์บทความที่พูดถึงความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย โดยระบุว่าผู้มีอันจะกินในสังคมไทยมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 1 ของจำนวนประชากรทั้งหมด แต่ถือครองทรัพย์สิน ร้อยละ 66.9 ของประเทศ ปฎิเสธไม่ได้ว่า ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นประเด็นตั้งต้นของปัญหาการเมืองที่รุมเร้าประเทศไทย ขณะที่ความเหลื่อมล้ำในสังคมยังปรากฎในหลายมิติโดยเฉพาะเรื่องการสื่อสารสาธารณะ การกระจายของทรัพยากรสื่อสารของชาติยังกระจุกตัวอยู่กับกลุ่มทุนไม่กี่กลุ่ม คนตัวเล็กตัวน้อย คนด้อยโอกาส ไม่สามารถเข้าถึงได้  แม้จะมีการปฎิรูปสื่อ ปฎิรูปการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร จนเป็นที่่มาของการมี กสทช. ปัจจุบัน เราได้เห็นความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงทรัพยากรสื่อสาร ทั้งการเป็นเจ้าของสื่อและการผลิตเนื้อหา รวมถึงผู้บริโภค ปรากฎการขยี้ข่าวที่เราจะพูดกันในวันนี้ เป็นการสะท้อนปัญหาเรื่องการสื่อสารในหลายมิติ นักวิชาการบางคนมองว่าการขยี้ข่าวเป็นวิวัฒนาการของรายการข่าว รายการขยี้ข่าว ที่พูดถึง คือรายการที่มีลักษณะ เป็นการเล่าข่าวแบบละคร มีการวางโครงเรื่อง ไล่เรียงจากความปกติสุขไปสู่จุดพลิกผันเป็นโศกนาฎกรรม หรือความอยุติธรรม แบ่งผู้เกี่ยวข้องในเหตุการณ์แยกเป็นตัวละคร มีการแต่งสีขยี้ความ เทคนิคแต่งเติมสีสัน ขยายตอกย้ำความรุนแรง เพื่อเร้าอารมณ์ผู้ชมรายการให้คล้อยตามและเกิดความรู้สึกเชิงละ วิพากษ์วิจารณ์ด้วยถ้อยความรุนแรง แบบบีบคั้นกดดัน ฉายภาพที่ไม่เหมาะสมซ้ำๆ 


"จากการสำรวจรายการข่าวทั่วไป 30 รายการ พบรายการขี้ข่าวมากถึง 20 รายการ หรือ 2 ใน 3 สุ่มสำรวจเฉพาะรายการข่าวสารทั่วไปสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ รายการขยี้ข่าว สะท้อนความเหลื่อมล้ำทางสังคม เพราะเมื่อทำการศึกษาแล้วพบว่าบุคคลเป็น Subject ของรายการขยี้ข่าว มักจะเป็นชาวบ้านหรือกลุ่มชนชั้นทางสังคมที่เข้าไม่ถึงทรัพยากรสื่อสาร ผู้จัดอาจจะมองว่านี่คือการสะท้อนสังคม คนเหล่านี้ถูกเอาเปรียบไม่ได้รับความช่วยเหลือ ขณะเดียวกันเป็นการสะท้อนความเหลื่อมล้ำของระบบเพราะผูู้ที่ถูกนำมาเสนอ บางครั้งถูกละเมิดไปด้วย ดาบสองคมของรายการขยี้ข่าว ส่วนดีคือการช่วยเหลือสังคม เปิดเผยความจริง แม้จะมีเจตนารมย์ที่ดีแค่บางครั้งเป็นการเสนอความรุนแรง สร้างความเครียด และผิดจริยธรรมสื่อ จึงเป็นที่มาของการพิจารณาทบทวนกันว่าเราจะปล่อยให้เป็นไปเช่นนี้ต่อไปหรือควรจะทำอย่างไรกับรายการข่าว"


ธีมะ กาญจนไพลิน ผู้ดำเนินรายการข่าว ช่อง ONE กล่าวว่า  นิยามของรายการขยี้ข่าว น่าจะเป็นรายการข่าวที่มีสารตั้งต้น คือ ข่าวที่ไม่ได้ยาวมาก แต่ใช้เวลาในการเล่าข่าวยาวมาก การเล่าข่าวใช้วิธีการทำให้ผู้ชมติดตามและเข้าใจข่าวมากขึ้น นำไปสู่ขยี้ข่าว หากกังวลว่าการขยี้ข่าวจะทำให้เกิดผลกระทบทางลบ เราอาจจะนำเสนอมุมมองและใช้เวลาในการเล่าไปในมุมที่เกิดประโยชน์กับคนดูมากขึ้นน่าจะเป็นประโยชน์กับคนดู 


สันติ กีระนันท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ต้องรยอมรับว่าปัจจุบันผูู้ชมจำนวนมากนิยมบริโภครายการขยี้ข่าว รายการขยี้ข่าวไม่ได้อยู่เฉพาะโทรทัศน์ สื่อวิทยุก็มีรายการขยี้ข่าว การมีสื่อที่ตอกย้ำเรื่องราวใดเรื่องราวหนึ่งมากๆ ทำให้เกิดการจดจำ จึงมีความเป็นห่วงผู้ชม คนส่วนมากชอบดูรายการที่มีเนื้อหาความรุนแรง ขณะที่เนื้อหาบอกเล่าเรื่องราวดีคนไม่ค่อยนิยม กระทรวงพม. คิดถึงการคุ้มครองสื่อและคุ้มครองดูแลเยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ฯลฯ หลายครั้ง การขยี้ข่าวที่มีเนื้อหาถึงความเหลื่อมล้ำกลายเป็นการตอกย้ำผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ถ้าผู้ทำรายการคำนึงถึงสำนักทางจริยธรรมน่าจะชั่งน้ำหนักเนื้อหาที่เหมาะสมในการนำเสนอรายการได้ 


ดร.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ โฆษกกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า รายการขยี้ข่าว น่าจะเป็นวิวัฒนษการที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของรายการข่าว ความนิยมรายการขยี้ข่าว เป็นเรื่องของธุรกิจ และความเปลี่ยนแปลงของวงการสื่อ เมื่อคนดูมีความต้องการบริโภคสื่อทำให้เกิดการผลิตรายการเพื่อตอบสนองความต้องการ คนส่วนใหญ่นิยมเรื่องราวที่มีความบันเทิง สนุก ดูแล้วพอใจ ขณะที่ข่าวที่มีเนื้อหาหนักถูกปฎิเสธ ความทรงจำของคนถูกผูกรวมไว้กับอารมณ์ ถ้าสิ่งที่เราดูมีอารมณ์และความรู้สึกร่วมด้วย ดูสนุก เพลิดเพลิน จะไปกระตุ้นสิ่งที่เป็นประสบการณ์หรือความพอใจของคนดู ให้เกิดอารมณ์ร่วมกับรายการ เป็นสิ่งที่ชอบและพึงพอใจ


สุภิญญา กลางณรงค์ อดีตกสทช. กล่าวว่า การบริโภคข่าวสารที่มีสาระมีความนิยมลดลง ในบางประเทศการจ่ายเพื่อชมรายการที่มีสาระมีคุณภาพลดลง จากการศึกษาพบว่า คนส่วนใหญ่ปฎิเสธที่จะบริโภคข่าว ความนิยมการบริโภคข้อมูลข่าวสารโดยตรงจากสำนักข่าวลดลง มีความนิยมบริโภคข่าวจากสื่อโซเชียลมีเดียมากขึ้น มากขึ้นประเทศไทยนิยมบริโภคข่าวจากสำนักข่าวโดยตรงร้อยละ 7 นิยมบริโภคข่าวจากโซเชียลมีเดีย ร้อยละ 63 อินฟลูเอ็นเซอร์จากโซเชียลมีเดียจึงได้รับความน่าเชื่อถือสูงมาก ขณะที่ระดับของเสรีภาพสื่อของประเทศไทยอยู่ลำดับที่ 87 จากลำดับ 106 ในปีที่ผ่านมา ทิศทางที่คนนิยมบริโภคสื่อน้อยกระทบกับการทำงานของสื่อมวลชน เมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นทำให้สื่อกระแสหลักต้องแข่งกับแพลตฟอร์มและอินฟลูเอ็นเซอร์มากขึ้น ปรากฎการณ์ความนิยมบริโภคข่าวจากแพลตฟอร์มเป็นเทรนด์ของคนรุ่นใหม่ ทำให้เกิดการแข่งขันสูงเพื่อแย่งคนดู สุดท้ายสื่อคงต้องปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดกับความเปลี่ยนแปลง 

Terms of Service © 2025 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)