สธ. แถลงถึงสถานการณ์ “โควิด” เริ่มคงตัว ผู้ป่วยหนัก และเสียชีวิต เริ่มลดลง ...พร้อมชี้แจงเหตุผล ในกรณีผู้ป่วยติดเชื้อโรค ไวรัสโควิด 19 ในตอนนี้ ไม่ต้องรับยาต้านไวรัสทุกคน ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ ห่วงปรากฏการณ์ Rebound เมื่อกินยาต้านไวรัส ไปไม่เหมาะสม อาจเสี่ยงดื้อยา พร้อมเปิดเผยแนวทาง การกระจาย LAAB
กระทรวงสาธารณสุข เผยสถานการณ์ “โควิด” เริ่มคงตัว คาดผู้ป่วยหนัก และเสียชีวิต จะเริ่มลดลงใน 2 สัปดาห์ เผยกระจาย LAAB จำนวน 7 พันโดสในสัปดาห์นี้ สำหรับผู้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำ, ไตวายเรื้อรัง รวมถึงคนปลูกถ่ายอวัยวะ และรับยากดภูมิคุ้มกัน ย้ำผู้ติดเชื้อ ไม่ต้องรับยาต้านไวรัสทุกคน ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ที่รักษา หากกินยาไม่เหมาะสม อาจเสี่ยงดื้อยา ขณะนี้ พบปรากฏการณ์ “Rebound” คาดยากำจัดเชื้อไม่หมด ทำให้เชื้อที่ซ่อนอยู่แบ่งตัวใหม่
วันนี้ (1 สิงหาคม 2565) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงสถานการณ์โรคโควิด 19 ว่า สถานการณ์โรคโควิด 19 ของประเทศไทย เป็นไปตามคาดการณ์ จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่เริ่มคงตัว ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ ระบบสาธารณสุขรองรับได้ โดยผู้ป่วยอาการหนัก ใส่ท่อช่วยหายใจ และเสียชีวิตคงตัว และเริ่มมีแนวโน้มค่อย ๆ ลดลงใน 2-3 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ เป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีโรคประจำตัวเรื้อรัง และไม่ได้รับเข็มกระตุ้น ซึ่งขณะนี้ การระบาดเป็นสายพันธุ์ BA.4 / BA.5 ค่อนข้างดื้อต่อวัคซีน การฉีดเข็มกระตุ้น จะเป็นปัจจัยสำคัญ ช่วยลดการป่วยอาการหนัก และเสียชีวิตได้
ดังนั้น หากฉีดเข็มล่าสุด มากกว่า 3 - 4 เดือนขึ้นไป สามารถไปฉีดเข็มกระตุ้นได้ที่ สถานพยาบาลใกล้บ้าน, ศูนย์บริการสาธารณสุข, ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ ส่วนช่วงเดือนที่ผ่านมา มีวันหยุดยาวหลายวัน มีประชาชนเดินทางกลับบ้านจำนวนมาก ต้องติดตามสถานการณ์ ในต่างจังหวัดว่า จะมีการระบาดเพิ่มขึ้นหรือไม่ จึงขอให้ดำเนินการมาตรการ 2U คือ Universal prevention คือ มาตรการป้องกันตนเอง ด้วยการใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่าง และ Universal Vaccination โดยฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อลดความเสี่ยงการเสียชีวิต
นพ.โอภาส กล่าวว่า การใช้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป หรือ ภูมิคุ้มกันออกฤทธิ์ชนิดยาว (Long Acting Antibody :LAAB) เหมาะกับประชาชนกลุ่มหนึ่ง ที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ไม่ดี โดย 1 กล่องมีภูมิคุ้มกัน 2 ชนิด บรรจุ 2 ขวด ฉีดพร้อมกันครั้งเดียว บริเวณสะโพก ฉีดแล้วมีภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคโดยตรง อยู่ได้นาน 6 เดือน ข้อบ่งใช้ คือ ใช้ป้องกันล่วงหน้าก่อนรับเชื้อ สำหรับคนที่ร่างกาย ตอบสนองภูมิคุ้มกันไม่ดี หรือแพทย์ที่ดูแลคนไข้มองว่า ควรรับ LAAB ถือเป็นเปิดกว้าง ให้เข้าถึงมากที่สุด เบื้องต้นใช้ในเด็ก 12 ปีขึ้นไป กลุ่มผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่มีการฟอกเลือด ล้างไตหน้าท้อง และปลูกถ่ายไต เนื่องจากเป็นกลุ่ม ที่มีการเสียชีวิตสูง รวมถึงคนปลูกถ่ายอวัยวะ และรับยากดภูมิคุ้มกัน การบริหารจัดการ การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย ขึ้นกับคณะกรรมการ โรคติดต่อจังหวัด / กรุงเทพมหานคร เบื้องต้นสัปดาห์นี้ จะกระจายครบ 7 พันโดสไปทุกจังหวัด และจะเข้ามาจนครบ 2.5 แสนโดสต่อไป ถ้าเราเร่งฉีดจะลดการเสียชีวิตได้
นพ.โอภาส กล่าวต่อว่า สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด ไม่จำเป็นต้องได้รับ ยาต้านไวรัสทุกราย ซึ่งคนทั่วไปที่แข็งแรง ฉีดวัคซีนครบถ้วน ส่วนใหญ่ จะอาการน้อย ก็ไม่จำเป็นต้องรับยาต้านไวรัส ซึ่งการจ่ายยา ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ ตามมาตรฐานสากล เนื่องจากเป็นผู้ซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการผู้ป่วยโดยตรง จึงเป็นผู้พิจารณา การเลือกยาให้เหมาะสม กับผู้ป่วยได้ดีที่สุด ทั้งนี้ ยาต้านไวรัส เป็นสารเคมีชนิดหนึ่ง มีทั้งข้อดีข้อเสีย หากรับประทานไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม อาจเกิดผลข้างเคียง หรือการดื้อยาได้ ซึ่งขณะนี้ เจอปรากฏการณ์ใหม่ คือ การรีบาวนด์ (Rebound) เช่น กรณี นายโจไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ที่รับยาต้านไวรัส แต่กลับมาพบเชื้อใหม่ สมมติฐาน คือ อาจเกิดจากรับยาต้านไวรัสเข้าไป และยาไม่สามารถกำจัดเชื้อ ในร่างกายคนบางคนให้หมดไป พอหยุดยา เชื้อที่ซ่อนอยู่ก็กลับมาแบ่งตัวขึ้นใหม่ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ต้องติดตามรายละเอียดต่อไป
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2565 เพจเฟซบุ๊ก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้โพสต์เผยแพร่ข้อมูล รวมลิงก์... ลงทะเบียนรักษาโควิด-19 ด้วยระบบการแพทย์ทางไกล จัดส่งยาถึงบ้าน ฟรี...
โดยผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มอาการไม่ได้ รุนแรง (สีเขียว) รักษาด้วยระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) พร้อมบริการจัดส่งยาถึงบ้าน ฟรี.. ไม่เสียค่าใช้จ่าย สามารถเลือกลงทะเบียน ตามแบบฟอร์ม (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ต่อไปนี้ เงื่อนไขแต่ละแห่งต่างกัน
1. บริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ผ่านแอปพลิเคชัน
ก. แอปพลิเคชัน MorDee (หมอดี) ให้บริการโดย บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด : https://form.typeform.com/to/cNKqNz3p
รับเฉพาะผู้ป่วยโควิด-19 สิทธิบัตรทอง 30 บาท (สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) ที่อยู่ในพื้นที่ กทม. - ปริมณฑล 5 จังหวัด นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร เท่านั้น
สอบถามเพิ่มเติม Line ID : @mordeeapp
ข. แอปพลิเคชัน Clicknic (คลิกนิก) ให้บริการโดย บริษัท คลิกนิก เฮลท์ จำกัด : https://forms.gle/hfo2Wr9jdvybn8d57
รับเฉพาะผู้ป่วยโควิด-19 สิทธิบัตรทอง 30 บาท (สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) ที่อยู่ในพื้นที่ กทม.-ปริมณฑล 5 จังหวัด นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร เท่านั้น
สอบถามเพิ่มเติม Line ID : @clicknic
ค. แอปพลิเคชัน Good Doctor Technology ให้บริการโดย บริษัท กู๊ด ด็อกเตอร์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) : https://forms.gle/YKVMKy1p8FRDDBje7
รับเฉพาะผู้ป่วยโควิด-19 สิทธิบัตรทอง 30 บาท (สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) ที่อยู่ในพื้นที่ กทม. นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ เท่านั้น***
สอบถามเพิ่มเติม Line ID: @gdtt
2. โรงพยาบาล สังกัดกรุงเทพมหานคร (รับทุกสิทธิรักษาพยาบาล)
คลิกที่นี่ > http://msdmec.go.th/register_covid
3. โรงพยาบาล สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (รับทุกสิทธิรักษาพยาบาล)
คลิกที่นี่ > https://drive.google.com/drive/folders/1Asadhl65rFhiiM86NUTAIfemqhT5X3oK
4. รับยา-คำแนะนำการใช้ยา (ครอบคลุมทั่วประเทศ) ผ่านร้านขายยา ที่เข้าร่วมโครงการ (รับผู้ป่วยโควิด-19 สิทธิบัตรทอง 30 บาทและสิทธิประกันสังคม)
ดูรายชื่อร้านยา ที่เข้าร่วมโครงการ
คลิกที่นี่ > https://www.nhso.go.th/downloads/197
หรือ ดูแผนที่ดิจิทัล ร้านยาใกล้ฉัน Nostra Map
คลิกที่นี่ > https://map.nostramap.com/NostraMap/?layer/covid19pharmacy,feed/th
5. ผู้ป่วยโควิด-19 ทุกสิทธิการรักษา ขอรับยาฟาวิพิราเวียร์ โทร.มาที่ สายด่วน สปสช. 1330 เจ้าหน้าที่ จะคัดกรองอาการ หากเข้าเกณฑ์ได้รับยา (ยาฟาวิพิราเวียร์) เจ้าหน้าที่จะจัดส่งยาให้ถึงบ้าน (เฉพาะผู้ป่วยโควิด-19 ทุกสิทธิรักษาพยาบาล ในพื้นที่ กทม. - ปริมณฑล 5 จังหวัด นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร เท่านั้น)
***4 วิธีเช็ก สิทธิรักษาพยาบาล ทำได้ง่าย ๆ ด้วยตนเอง***
1. โทร.สายด่วน สปสช. 1330 กด 2
2. เว็บไซต์ สปสช. https://eservices.nhso.go.th/eServices/mobile/login.xhtml
3. แอปพลิเคชัน สปสช. เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิตนเอง
4. ไลน์ สปสช. @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6 เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิ
นอกจากนี้ Backbone MCOT มีข้อมูลจากเว็บไซต์ องค์การเภสัชกรรม ที่ได้เปิดเผยเกี่ยวกับ การจัดหายาต้านโควิด ทั้งยาโมลนูพิราเวียร์ และยาฟาวิพิราเวียร์ ให้กับศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน ด้านการแพทย์ และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข (PHEOC) เพื่อใช้รักษาโรคโควิด 19 อย่างต่อเนื่อง
โดยเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 เภสัชกรหญิงศิริกุล เมธีวีรังสรรค์ รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า องค์การเภสัชกรรม ได้ดำเนินการจัดหา ยาต้านโควิด โมลนูพิราเวียร์ ยาต้านไวรัสชนิดรับประทาน ตามความต้องการของ ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน ด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข (PHEOC) เพื่อใช้รักษาโรคโควิด-19
สำหรับการจัดหา “ยาโมนูลพิราเวียร์” (Molnupiravir) จำนวน 5 ล้านแคปซูลนั้น องค์การเภสัชกรรม ได้ส่งมอบแล้ว จำนวน 2 ล้านแคปซูล เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 และอีกจำนวน 3 ล้านแคปซูล คาดว่า สามารถส่งมอบได้ ไม่เกินปลายเดือนกรกฎาคม 2565 ขณะนี้ ดำเนินการจัดหาเพิ่มเติมอีก จำนวน 5 ล้านแคปซูล
สำหรับการจัดหายา โมลนูพิราเวียร์ องค์การเภสัชกรรม ได้จัดตั้งคณะทำงานพิจารณา การนำเข้ายา โมลนูพิราเวียร์ Molnupiravir 200 mg Capsules เพื่อนำข้อมูลเชิงคุณภาพ มาใช้ในการคัดเลือก แหล่งที่มีคุณภาพจากประเทศอินเดีย หรือประเทศอื่น โดยค่ายาต่อคอร์สการรักษาไม่เกิน 1,000 บาท (40 เม็ด) ขึ้นกับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น
นอกจากนี้ องค์การเภสัชกรรม ได้ดำเนินการจัดส่ง “ยาฟาวิพิราเวียร์” (Favipiravir) ตั้งแต่วันที่ 1 - 20 กรกฎาคม 2565 แล้วจำนวนประมาณ 10 ล้านเม็ด และดำเนินการ ทยอยส่งมอบอย่างต่อเนื่องทุกวัน ขณะนี้ องค์การเภสัชกรรม เร่งกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจัดหาเพิ่มเพื่อสำรองไว้ กรณีที่ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน ด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข (PHEOC) แจ้งความต้องการเพิ่มเติม
องค์การเภสัชกรรม จะมีการติดตาม และประเมินสถานการณ์ ความต้องการใช้อย่างใกล้ชิด ตามความต้องการของ ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน ด้านการแพทย์และสาธารณสุข (PHEOC) โดยองค์การเภสัชกรรม เป็นผู้ดำเนินการจัดส่ง กระจายให้กับหน่วยบริการแม่ข่าย ในแต่ละพื้นที่ ทุกวันไม่มีวันหยุด
#BackboneMCOT
อ้างอิง และขอบคุณข้อมูล จาก :
เว็บไซต์ : สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
https://pr.moph.go.th
เว็บไซต์ : องค์การเภสัชกรรม
https://www.gpo.or.th
เฟซบุ๊ก : ศูนย์ข้อมูล COVID-19
https://www.facebook.com/informationcovid19
1 ส.ค. 2565
10550 views
ขนาดตัวอักษร
อ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ..คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ เขียนเลย