X
ตำนานพระนิรันตราย

ตำนานพระนิรันตราย

22 ส.ค. 2567
1740 views
ขนาดตัวอักษร

มาจะกล่าวบทไปถึง พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สูงค่า เป็นสมบัติของแผ่นดิน มีประวัติความเป็นมาไม่ธรรมดา จนได้นาม พระนิรันตราย มีเรื่องน่าเป็นห่วงเมื่อพบว่า เกิดมีพระพุทธรูปองค์หนึ่ง ใน 18 องค์ที่สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 4  หายไปจากพระอารามหลวงแห่งหนึ่งจึงตำนานแห่งพระนิรันตรายมาเล่าสู่กันฟัง


ย้อนไปเมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2399 กำนันอินอยู่ในแขวงจังหวัดปราจีนบุรี นอนฝันไปว่าจับช้างเผือกได้ จากนั้นได้ชวนบุตรชาย ชื่อ นายยัง ไปหาของป่าที่ชายป่าห่างดงศรีมหาโพธิ เดินทางไปประมาณ 3 เส้น ขณะที่ขุดหาของป่า พบพระพุทธรูปศิลปะทราวดี หล่อด้วยทองคำเนื้อหกน้ำหนัก 8 ตำลึง จึงนำพระมามอบให้ พระเกรียงไกรกระบวรยุทธ์ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา พาเข้ามากรุงเทพฯ นำขึ้นทูลเกล้าถวาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


ในหลวงรัชกาลที่ 4 ได้อัญเชิญไว้ในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาในปี พ.ศ. 2403  มีผู้ร้ายขโมยพระกริ่งองค์น้อยซึ่งตั้งอยู่กับพระนิรันตรายไป จึงทรงพระราชดำริว่า พระพุทธรูปที่กำนันอินกับนายยังบุตรทูลเกล้า ๆ ถวายนั้น เป็นทองคำทั้งแท่งใหญ่กว่าพระกริ่ง ควรที่ผู้ร้ายจะขโมยพระพุทธรูปองค์นั้นไป แต่ไม่เอาไป เป็นที่อัศจรรย์ที่พระแคล้วคลาดปลอดภัยถึง 2 ครั้ง คือครั้วแรกที่ขุดพบ เป็นพระทองคำแต่รอดจากการนำไปหลอมเอาทอง ครั้งที่สองรอดจากขโมย จึงพระราชทานนามพระพุทธรูปว่า พระนิรันตราย แล้วทรงมีพระราชดำริให้เจ้าพนักงานหล่อ พระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิเพ็ชร์ ต้องตามพระพุทธลักษณะ


พระพุทธรูปพระนิรันตราย นั้นหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ กาไหล่ทอง นั่งขัดสมาธิเพ็ชร์
เบื่องหลังมีเรือนแก้วเป็นพุ่มพระมหาโพธิอักษรขอมจำหลักลงในวงกลีบบัวเบื่องหน้า 9 เบื้องหลัง 9 คือ พระคุณนามแสดงพระพุทธคุณ ตั้งแต่อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ จนถึง ภควา  ยอดเรื่อนแก้วมีรูปพระมหามงกุฎ ตั้งติดอยู่กับฐานชั้นล่าง รองฐานพระ เป็นที่สำหรับรับน้ำสรงพระมีท่อเป็นรูปศรีษะโค หมายถึง โคตมะสัมมาสัมพุทธเจ้า เชิญไปประดิษฐานไว้ ณ หอเสถียรธรรมปริต




ครั้นภายหลังทรงพระราชดำริ ว่าพระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกาย อันพระองค์ได้ทรงสถาปนาแพร่หลายไพบูลย์มากขึ้น จนผู้มิทรัพย์มีศรัทธาได้สร้างอารามประสงค์เฉพาะถวายให้เป็นอาวาสแก่พระสงฆ์ผ่ายคณะธรรมยุติกนิกายมากขิ้นหลายพระอาราม ลัทธิธรรมวินัยนั้นรุ่งเรืองเจริญมากขึ้น ควรจะมีสิ่งซึ่งเป็นสำคัญสำหรับ เป็นที่ระลึกสืบไป ในปีมะโรง พ.ศ. 2411 จึงทรงพระกรุณาโปรดฯ  ให้ช่างหล่อพระพุทรูปพิมพ์เดียวกัน กับพระพุทธรูปทองเงินซึ่งสวมพระนิรันตราย หล่อด้วยทองเหลื่องแล้วกาไหล่ทองคำ มีเรือนแก้วอยู่เบื้องหลังดังเช่นว่าแล้วข้างต้น 18  พระองค์เท่ากับจำนวนปีซึ่งได้เสด็จดำรงสิริราชสมบัติ แล้วทรงพระราชดำริว่าจะทรงหล่อปีละองค์พร้อมกับเฉลิมพระชนมพรรษาทุกปีไป


ทรงถวายพระนามพระพุทธรูปว่า พระนิรันตรายทั้งสิ้น แต่พระพุทธรูปนั้นยังหาได้กาไหล่ทองไม่ พอเสด็จสวรรคตเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จิงทรงพระกรุณาโปรด ฯ ให้ช่างกาไหล่ทองคำพระพุทธรูปทั้ง 18 พระองค์เสร็จบริบูรณ์แล้ว จึงพระราชทานไปตามวัดพระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกาย มีวัดบวรนิเวศวิหารเป็นต้น ตามพระบรมราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วทรงสร้างพระราชทานพระอารามหลวงซึ่งเช่นเป็นผ่ายธรรมยุติกาวัดละองค์ต่อมา



Terms of Service © 2025 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)