กรุงเทพมหานคร ตั้งขึ้นได้แล้วปีนี้ 240 ปี นานพอควร เป็นเมืองหลวงที่มั่นคงมีประชากร 5.7 ล้านคน เมืองอันงดงามมีสิ่งก่อสร้างเลื่องชื่อ รู้กันไหมเมื่องมีที่มาจากน้ำมือใคร แน่นอนว่าตอนตั้งกรุงเทพฯ คนไทยมีอำนาจสูงสุด แต่คนไทยอีกนั่นแหละที่ไม่ได้เป็นแรงงานหลักในการสร้างเมือง เราลองมาลำดับเหตุการณ์การตั้งกรุงเริ่มจากสร้างพระบรมมหาราชวัง แรงงานหลักตอนนั้นเป็นแรงงานสหประชาติ แต่แรงงานหลักคือ คนจีน รวมด้วย คนไทยและคนลาว พอสร้างพระบรมมหาราชวังเสร็จครั้งแรกกำแพงพระบรมมหาราชวัง ไม่ได้ก่ออิฐถือปูนแบบทุกวันนี้ แต่ทำด้วยไม้ ต่อมาจึงให้รื้อเอาอิฐจากกรุงศรีอยุธยาลงมาทำกำแพงเมือง แรงงานสร้างกำแพงเมืองกรุงเทพฯตอนนั้นคือแรงงานลาว
พอสร้างวังเสร็จงานต่อไปของเมืองคือขุดคลอง แรงงานขุดคลอง มีทั้งคนจีน เขมรก็มา มีบันทึกว่าชาวเขมรขุดคลองมหานคร(ตรงภูเขาทอง) ยังมีแรงงานจีนเข้ามาช่วยอีกเหมือนเดิม กุลีจีน นั้นขยัน ทำงานได้หลากหลาย ไม่เกี่ยงงาน การทำงานของกุลีจีน จะผูกปี้ครั่งที่ข้อมือ โดยจะเสียภาษีให้รัฐปีละ 2 บาท มีอิสระในการเดินทางได้ทุกทีทุกรูปแบบตามสมัครใจ
ชาวจีนมีบทบาทอย่างมากต่อการพัฒนาเมือง ทำงานใช้แรงงานตั้งแต่ ทำสวน ลากรถ ขุดบ่อ ทำงานก่อสร้าง โรงต่อเรือสร้างถนน แรงงานในโรงสี โรงน้ำตาล โรงเลื่อย น่าแปลกที่ทุกวันนี้คนไทยเชื้อสายจีนเลิกทำงานกรรมกร แต่เป็นคนจ้างคนไทยทำงานใช้แรงเสียเอง
จะว่าไปแล้วแรงงานสร้างกรุง(เทพ) เป็นการผสมผสานกันขึ้นอยู่กับขุนนางที่รับผิดชอบจะใช้กำลังแรงงานของใคร มีทั้งจีนแขก ลาว เขมร ฯลฯ อย่างตอนขุดคลองแสนแสบ ด้วยความที่คลองยาวมาก เริ่มต้นจ้างกลุ่มชาวจีนอพยพ บางช่วงก็ใช้เชลยที่กวาดต้อนมาจากทางใต้ คือ แขกมลายู แขกจาม มุสลิม พอขุดเสร็จ เขาก็ตั้งบ้านเรือนอยู่ตลอดเส้นทาง ทุกวันนี้จึงกลายเป็นชุมชนใหญ่
แรงงานสร้างกรุงจึงมีความสำคัญ เพราะการสร้าง ไม่ใช่แค่ก่อ หรือขุด แต่เป็นการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ระบบเศรษฐกิจ จนมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างประเทศชาติให้เข้มแข็ง แรงงานสร้างกรุงจึงกลายเป็นพลเมืองสร้างชาติไปในวันนี้