X
สุดยิ่งใหญ่ อลังการ งานประเพณีลอยกระทง เผาเทียนเล่นไฟ สุโขทัย 2567

สุดยิ่งใหญ่ อลังการ งานประเพณีลอยกระทง เผาเทียนเล่นไฟ สุโขทัย 2567

13 พ.ย. 2567
1670 views
ขนาดตัวอักษร

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กำหนดจัดงานสีสันแห่งสายน้ำ มหกรรมลอยกระทง ปี 2567 ภายใต้แนวคิด “มหัศจรรย์ สีสันแห่งศรัทธา” Amazing Night of lights : Loi Krathong Festival นำเสนอประเพณีลอยกระทงอันทรงคุณค่าที่สะท้อนความเป็นไทยอย่างสร้างสรรค์และสร้างสรรค์กิจกรรมบนรากฐานวัฒนธรรม (Soft Power) ผสานความทันสมัยของสื่อผสมและเทคโนโลยีเพื่อให้เข้าถึงคนรุ่นใหม่ ร่วมรับประสบการณ์ Amazing Experience เน้นย้ำความสุขและคุณค่าอย่างวิถีไทย พร้อมนำส่งคุณค่าและประสบการณ์ใหม่ของประเพณีลอยกระทงที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ซึ่งจัดกิจกรรมขึ้นระหว่างวันที่ 13 - 16 พฤศจิกายน 2567 ณ บริเวณคลองผดุงกรุงเกษม (ย่านหัวลำโพง) กรุงเทพมหานคร โดยพิธีเปิด จัดขึ้นวันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 เวลา 19.00 น.
กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย
1.    พิธีเฉลิมฉลองประเพณีลอยกระทง ขบวนแห่ประเพณีลอยกระทงและนางนพมาศทางน้ำ ในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 นำเสนอภาพลักษณ์อันสง่างามของประเพณีลอยกระทงของไทย ผสมผสานกับความสวยงามของวัฒนธรรมท้องถิ่นต่าง ๆ เพื่อสร้างความตื่นตาตื่นใจและส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทย
2.    การแสดงกระทงประดับไฟสวยงาม 5 พื้นที่เอกลักษณ์ ที่แสดงถึงความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมผ่านสื่อสัญลักษณ์แลนด์มาร์คที่เป็นเอกลักษณ์ 5 พื้นที่ ได้แก่ 
          - ประเพณียี่เป็ง จังหวัดเชียงใหม่ 
          - ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1,000 ดวง จังหวัดตาก
          -  ประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย
          -  ประเพณีลอยกระทงกาบกล้วยเมืองแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม
          -  ประเพณี สมมาน้ำคืนเพ็ง เส็งประทีป จังหวัดร้อยเอ็ด
3.    การตกแต่งประดับไฟแสงสีด้วย Light Installation, Mapping ฯลฯ ทั่วบริเวณริมคลองผดุงกรุงเกษม (ย่านหัวลำโพง)
4.    กิจกรรมสาธิตและ DIY การทำกระทง อาทิ โคมล้านนา กระทงกะลามะพร้าว กระทงใบลาน กระทงกาบกล้วย กระทงรวงข้าว โดยผลิตจากวัสดุธรรมชาติเพื่อเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
5.    การแสดงทางวัฒนธรรม การแสดงร่วมสมัยที่น่าสนใจ อาทิ 
         - การแสดงชุด “บันเทิงเริงระบำ”
         - การแสดงชุด “เพชรจรัสแสง x กุมารน้อยหอยสังข์”
         - การแสดงชุด “ความรุ่งเรืองของวิถีชีวิตสายน้ำ”
         - การแสดงชุด “ผ้าขาวม้าพาเพลิน”
         - การแสดงชุด “ฟ้อนโคมล้านนา ฟ้อนนกกิงกะหร่าและเต้นโต”
         - การแสดงชุด “ฟ้อนขันดอกบุปผาสวรรค์”
         - การแสดงชุด “พื้นบ้านหัวโตกลองยาว”
         - การแสดงชุด “กลองยาวศิลป์อีสาน”
         - การแสดงชุด “วงดนตรีแสลีมาลาประกอบการแสดงรองเง็ง”
         - การแสดงชุด “วงดนตรีร่วมสมัย ระนาด กลองไฟฟ้า กีต้าร์ นักร้อง”
         - การแสดงชุด “วงดนตรีร่วมสมัย ขลุ่ย คีย์บอร์ดไฟฟ้า ไวโอลิน นักร้อง”
6.    กิจกรรมลอยกระทงด้วยเทคนิค/นวัตกรรมลอยกระทงสมัยใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในเทรนด์ของโลกยุคใหม่ เช่น กิจกรรมลอยกระทง Interactive การลอยกระทง Online Metaverse 
7.    กิจกรรมเสริมสร้างประสบการณ์ท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จากชุมชนท่องเที่ยว เช่น สาธิตการสานปลาตะเพียนใบลาน การทำพัดสาน เป็นต้น
8.    กิจกรรมประกวดนางนพมาศ เพื่อเป็นการถ่ายทอดประเพณีวัฒนธรรมสู่สากล
9.    กิจกรรมประกวดกระทงสร้างสรรค์รักษ์โลก การประกวดกระทงแบ่งเป็นประเภท On Ground และ Online เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์กระทงที่ใช้วัสดุธรรมชาติและย่อยสลายได้
10.    โซนสาธิตอาหารไทยโบราณที่หาชิมได้ยากและจำหน่ายอาหารไทย
งานประเพณีลอยกระทง เผาเทียนเล่นไฟ สุโขทัย 2567 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-17 พฤศจิกายน 2567
งานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ ประจำปี 2567 ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมือง ระหว่างวันที่ 8-17 พฤศจิกายน 2567 เพื่อสืบทอดประเพณีความเชื่อมาแต่ครั้งโบราณ เพื่อขอขมาพระแม่คงคา อธิษฐานขอให้เกิดแต่สิ่งดี ๆ ในชีวิต เป็นมรดกทางวัฒนธรรมล้ำค่า ตกทอดมาแล้วกว่า 700 ปี
นายนพฤทธิ์ ศิริโกศล รองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย กล่าวว่า ปีนี้ทางจังหวัดจะเน้นการนำเสนอความเป็นเอกลักษณ์ของศิลปวัฒนธรรมไทยที่ผสมผสานกับความเป็นเมืองสร้างสรรค์ (Crafts and Folk Art) โดยเฉพาะการจุดพลุตะไลไฟพะเนียง ที่เป็นไฮไลต์ของงาน จะมีความสวยงามโดดเด่นให้สมกับรางวัล Gold Prize งานเทศกาลที่มีศักยภาพ (ธีมงานกลางคืน) ประจำปี 2023 จึงขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมสัมผัสประเพณีและวัฒนธรรมดั้งเดิมของเมืองสุโขทัยอย่างแท้จริง เชื่อว่าจะประทับใจและตราตรึงในมนต์เสน่ห์ งานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟของจังหวัดสุโขทัย ไปอีกนานแสนนาน
สำหรับการจัดงานในปีนี้ทางจังหวัดจะเน้นการนำเสนอความเป็นเอกลักษณ์ของศิลปวัฒนธรรมไทยที่ผสมผสานกับความเป็นเมืองสร้างสรรค์ (Crafts and Folk Art) โดยเฉพาะการจุดพลุตะไลไฟพะเนียง ที่เป็นไฮไลต์ของงาน จะมีความสวยงามโดดเด่นให้สมกับรางวัล Gold Prize งานเทศกาลที่มีศักยภาพ (ธีมงานกลางคืน)  นอกจากนี้ ยังมี“พลุสุโขทัย” ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นสุโขทัย เป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษ ที่สืบสานการทำดอกไม้ไฟโบราณมากว่า 47 ปี  (พ.ศ. 2520 - 2567)   โดยนำไฟไทยโบราณ มาประยุกต์ และบูรณาการให้สอดคล้องกับการแสดงพลุในปัจจุบัน มาตลอดระยะเวลา 47 ปี และนับเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของคณะพลุสุโขทัย สามารถสร้างชื่อเสียงจากระดับท้องถิ่น จนงานเทศกาลลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย จนเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
         ภายในงานจะมีกิจกรรมมากมาย ประกอบด้วย ลานโอทอป ตลาดดงตาล ตลาดแลกเบี้ย การจำลองวิถีชีวิตสมัยกรุงสุโขทัย นิทรรศการรอยกระทง ลอยกระทงสุโขทัย และมีไฮไลท์เป็นการแสดง Light & Sound ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย ที่น่าตื่นตาตื่นใจ และสนุกสนานที่รอให้ทุกคนมาสัมผัสกันอีกมากมายทั้ง การจัดตลาดโบราณ  การจัดประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ 
การแสดงทางศิลปะวัฒนธรรม การแสดงโขน ละคร หุ่น และ การแสดงพลุ ตะไล ไฟพะเนียง
     นอกจากนี้ ยังมีการแสดงแสงเสียง สุโขทัย Light & Sound ตอน ความรุ่งเรืองของอาณาจักรสุโขทัย จัดขึ้นระหว่าง วันที่ 8 - 15 พฤศจิกายน 2567 ย้อนอดีตเรื่องราวความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรสุโขทัย ผ่านการถ่ายทอดจากนักแสดงนาฏศิลป์กว่า 400 ชีวิต ชมขบวนช้างยุทธหัตถี การละเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง 
(พลุไฟไทยแบบโบราณ) สุดตระการตา โดยในปีนี้นอกจากจะได้รับชมความสวยงามตระการตาของฉากการแสดงที่ยิ่งใหญ่ และนักแสดงมืออาชีพกว่า 300 ชีวิตที่ยังคงสร้างมนต์ขลังและความประทับใจไม่รู้ลืมให้กับผู้ชมมาแล้ว คณะจัดงานจังหวัดสุโขทัย ได้มีการแสดงร่วมกับช้างจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพิ่มความขลัง และสวยงามตระการตามากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ราคาบัตรเข้าชม สุโขทัย Light & Sound ราคาบัตร 500 บาท, 900 บาท และ 1,200 บาท 
การแสดงมีทุกคืนวันละ 1 รอบ เวลา 19.00 น. และเพิ่มรอบการแสดงในคืนวันที่ 15 พฤศจิกายน เวลา 20.30 น. รายละเอียดงานลอยกระทงสุโขทัย เพิ่มเติมได้ที่ : https://www.facebook.com/tatsukhothaikamphaengphet
ข้อมูล : https://travel.trueid.net/การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
สำหรับความเป็นมางานลอยกระทงจังหวัดสุโขทัย ปรากฏในข้อความในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงอธิบายไว้ว่า หลังจากออกพรรษาแล้ว ชาวสุโขทัยผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาจะทำพิธีกรานกฐินภายในระยะเวลาหนึ่งเดือน หลังจากนั้นผู้คนจากทั่วสารทิศจะเบียดเสียดกันเข้ามายังเมืองนี้เพื่อชมการเผาเทียนเล่นไฟ ซึ่งตรงกับช่วงเดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติ อันเป็นช่วงเวลาแห่งประเพณีลอยกระทงพอดี ส่วนหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์หรือเรื่องนางนพมาศก็พรรณนาถึงพระสนมของพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย ผู้คิดค้นการประดิษฐ์โคมรูปดอกบัวบาน สำหรับลอยลงสู่สายธารเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทและโคมชักโคมแขวนสำหรับบูชาพระมหาธาตุจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในวันเพ็ญเดือน 12 เป็นแบบอย่างให้กับกระทงมาจนถึงปัจจุบัน วรรณกรรมเหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการจัดงานประเพณี ลอยกระทง เผาเทียนเล่นไฟขึ้นในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต่อเนื่องกันมาเกือบห้าสิบปี ในช่วงของการจัดงานนี้ นับเป็นโอกาสเดียวของปีที่เราจะได้ชมเมืองโบราณสุโขทัยยามค่ำคืนท่ามกลางแสงวับวามของตะเกียงนับพัน ๆ ดวง ที่ส่องแสงอาบไล้ให้ทั้งเมืองกลายเป็นสีทอง ผสานกับแสงจันทร์ที่สว่างไสวอยู่บนผืนฟ้า ล้อกับแสงเทียนในกระทงที่ล่องลอยอยู่ในตระพัง ผู้คนมากมายแต่งกายงดงามตามปรารถนาพากันหลั่งไหลมาพร้อมกระทงใบงาม เพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเจตจำนงจงรักต่อกัน ยามกลางวันมีกิจกรรมและกระบวนแห่วิจิตร ยามดึกมีการแสดงดอกไม้ไฟตระการตา เหมือนได้กลับไปอยู่ในยามรุ่งเรืองของนครสุโขทัยอีกครั้ง 


งานประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2567 ในระหว่าง วันที่ 13-17 พฤศจิกายน 2567 ณ บริเวณสวนชมน่านเฉลิมพระเกียรติ และ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.พิษณุโลก
เทศบาลนครพิษณุโลก และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ร่วมกันจัดงานสืบสานประเพณีลอยกระทงขึ้น โดยมีกำหนดการจัดงาน ระหว่างวันที่ 11-17 พฤศจิกายน 2567 รวม 7 วัน ซึ่งประดับไฟสวยงามตระการตาตลอดเส้นทางจัดงาน เริ่มตั้งแต่สวนชมน่านเฉลิมพระเกียรติฯ ผ่านวัดราษบูรณะ วัดนางพญา วัดศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จนถึงพระราชวังจันทน์ เพื่อส่งเสริม อนุรักษ์ ฟื้นฟู และรักษาสืบสาน วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทยสู่อนุชน รุ่นหลัง และร่วมย้อนรำลึกถึงเมืองพิษณุโลกในอดีต วิถีชีวิตชาวบ้าน ลุ่มน้ำน่าน อันงดงาม ทั้งวิถีชีวิตความเป็นอยู่ อาหารการกิน การแต่งกาย มานำเสนอให้เป็นจุดขายให้แก่นักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดียิ่ง จ.พิษณุโลก จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวร่วมแต่งกายชุดไทย ใช้กระทงจากวัสดุธรรมชาติ หรือลอยกระทงดิจิทัล เพื่อร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยจะมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งตรงกับวันลอยกระทง และขอเชิญร่วมชมขบวนแห่นางนพมาศและขบวนกระทงใหญ่ ซึ่งจะเริ่มเคลื่อนขบวนจากหน้าโรงเรียนเทศบาล 3 (วัดท่ามะปราง) เคลื่อนผ่านตลาดเข้าสู่บริเวณสถานที่จัดงาน บริเวณหน้าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ตั้งแต่เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป
1.    วันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 ณ สวนชมน่านเฉลิมพระเกียรติ
•    เวลา 08.00 น. การประกวดประดิษฐ์กระทงฝีมือ
- ประเภทประถมศึกษา
- ประเภทมัธยมศึกษา,ปวช.
- ประชาชนทั่วไป
•    เวลา 18.00 น. ประกาศผลการประกวดประดิษฐ์กระทง ฝีมือ และมอบรางวัลการประกวด
•    เวลา 19.00 น. พิธีเปิดโครงการดนตรีเพื่อเยาวชน และประชาชนต้านยาเสพติด
-    การประกวดร้องเพลงไทยลูกทุ่ง รอบคัดเลือกและรอบชิงชนะเลิศ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
•    เวลา 18.00 น. พิธีเปิดถนนสองแควแลอดีต
- การแสดงศิลปวัฒนธรรม
- การแสดงการละเล่นเด็กไทย
- รำวงย้อนยุค
- กิจกรรมลานพุทธบูชา
2.    วันที่ 14 พฤศจิกายน 2567 ณ สวนชมน่านเฉลิมพระเกียรติ
•    เวลา 19.00 น. โครงการดนตรีเพื่อเยาวชน และประชาชนต้านยาเสพติด
-    การประกวดวงดนตรี (สตริง)รอบคัดเลือกและรอบชิงชนะเลิศ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
•    เวลา 18.00 น. การประกวดหนูน้อยนพมาศ
•    เวลา 20.30 น. การแสดงวงดนตรีลูกทุ่งนเรศวร

3.    วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
•    เวลา 17.30 น. ขบวนแห่กระทงใหญ่และนางนพมาศ โดยเทศบาลนครพิษณุโลก สภาวัฒนธรรมเทศบาลนครพิษณุโลก มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม สมาคมจีน ชุมชนเทศบาลนครพิษณุโลก 4 โซน
•    เวลา 19.30 น. พิธีเปิดงานประเพณีลอยกระทง
- การแสดง “ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์”
- พิธีขอขมาพระแม่คงคาและจุดเทียนกระทงใหญ่ จุดพลุเฉลิมฉลอง
- พิธีสักการะพระพุทธชินราช
•    เวลา 20.00 น. การประกวดนางนพมาศ
-    การประกวดรอบแรก (แนะนำตัว) ประกาศผลผู้เข้ารอบ 10 คน รอบ Key Words ประกาศผลผู้เข้ารอบ 5 คน รอบตอบคำถาม และประกาศรางวัล
-    การแสดงร้องเพลงลูกทุ่งพร้อมเต้น ประกอบเพลง จาก “มะปรางหวาน”
ที่มา: เทศบาลนครพิษณุโลก องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก

Terms of Service © 2025 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)