X
ก้อนน้ำแข็งจากท้องฟ้า =

ก้อนน้ำแข็งจากท้องฟ้า = "ลูกเห็บ"

16 ม.ค. 2567
1210 views
ขนาดตัวอักษร

ลูกเห็บเกิดจากอะไรมาดูกัน ลูกเห็บเกิดจากมวลอากาศร้อนที่ลอยตัวสูงขึ้นและพัดพาเม็ดฝนลอยขึ้นไปปะทะกับมวลอากาศเย็นด้านบนจะทำให้เม็คฝนจับตัวเป็นเม็ดน้ำแข็งทำให้ตกลงมาเจอมวลอากาศร้อนที่อยู่ด้านล่างความชื้นจะเข้าไปห่อหุ้มเม็ดน้ำแข็งให้เพิ่มขึ้น จากนั้นกระแสลมก็จะพัดพาเม็ดน้ำแข็งวนซ้ำไปซ้ำมาหลายครั้งระหว่างชั้นมวลอากาศร้อนและมวลอากาศเย็นภายในกลุ่มเมฆจนกลายเป็นเม็ดน้ำแข็งที่มีขนาดใหญ่และกระแสลมไม่สามารถพยุงไว้ได้จึงตกลงมายังพื้นดิน ลูกเห็บจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ซึ่งลูกเห็บจะเกิดขึ้นในเขตพื้นที่ที่มีอากาศร้อนมากและเกิดในช่วงการเปลี่ยนจากฤดูร้อนเป็นฤดูฝน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนพฤษภาคม โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เราไม่ควรรับประทานลูกเห็บเพราะในลูกเห็บจะมีสารปนเปื้อนและฝุ่นละอองก่อนตกลงมา

ส่วนคำว่า hail ในทางอุตุนิยมวิทยา หมายถึง กลุ่มของลูกเห็บจำนวนมากที่ตกลงมาในช่วงเวลาหนึ่งๆ แต่ในภาษาไทยมักแปลคำว่า hail ว่า “ลูกเห็บ” เหมือนกัน (แตกต่างจากกรณีของ “ฝน” หรือ “rain” ซึ่งประกอบด้วย “หยดน้ำฝน”)

สถิติของลูกเห็บที่หนักที่สุดในโลกนั้น ตกที่ เมืองคอฟฟีย์วิลล์ (Coffeyville) รัฐแคนซัส ในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2513 โดยหนักถึง 770 กรัม (หรือ 1.7 ปอนด์) มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 14.5 เซนติเมตร (5.7 นิ้ว) ส่วนลูกเห็บที่ขนาดใหญ่ที่สุดนั้นตกที่ ออโรรา (Aurora) รัฐเนแบรสกา ในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2546 ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 17.8 เซนติเมตร (7 นิ้ว) แต่มีน้ำหนักน้อยกว่า อาจเนื่องมาจากมีบางส่วนแตกหลุดไปในระหว่างตกกระทบบ้าน

การตกลงมาของน้ำแข็งอีกประเภทที่มีขนาดใหญ่กว่าลูกเห็บเรียกว่า megacryometeors

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nstda.or.th/th/vdo-nstda/science-day-techno/4090-hail

Terms of Service © 2025 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)