เรื่องที่กำลังจะเล่าตอนนี้ ไม่เชิงว่าเป็นการ มูเตลู อยากเรียกว่าเป็นการบรรจบกันของ ศรัทธา และศิลปะจะดีกว่า เป็นความรู้และทางเลือกแด่คนที่ศรัทธาเทพเจ้าฮินดู
“จุดเริ่มต้นมาจาก เวลาไปไหว้พระที่อินเดียมักจะบูชาของสวยๆ กลับมา ซึ่งก็จะมีพระพักตร์ของเทพ โดยเฉพาะพระแม่อุมาเรามาคิดว่าเรามีความถนัดในงานศิลปะเราน่าจะลองทำพระพักตร์อื่นได้ จึงบูชากลับมาแบบละชิ้นแล้วกลับมาพัฒนาเป็นพระพักตร์อื่นที่ยังไม่มี การออกแบบเรายึดตามเทวลักษณะ ซึ่งเราศึกษาว่าพระแม่กาลีปางนี้มีพระวรกายสีอะไร พระพักตร์สีอะไรสัญญลักษณ์การเขียนหน้าผากมีอะไร อาวุธมีอะไรบ้าง แต่ละอย่างมีรายละเอียดอย่างไร การทำเรายังขอคำปรึกษาจากครูบาอาจารย์ งานทุกชิ้นเราทำถูกเทวลักษณะทั้งหมด เราเพนท์เองแต่รูปแบบบล็อกเป็นของอินเดีย “
ณัฐณิชา เงินทอง หรือ กระเต็น เล่าให้เราฟังถึงที่มาของ งานเพนท์พระพักตร์พระแม่กาลี ผมรู้จักกระเต็นมานาน จากกลุ่มผู้สนใจศรัทธาศึกษาและบูชาเทพตามวัฒนธรรมฮินดู “ปินากิน” กลุ่มนี้เน้นที่การศึกษาความรู้ และการปฏิบัติตามปรัชญาศาสนาฮินดู ไม่มีทรงเทพ ไม่มีการบูชาที่ผิดหลักการของวัฒนธรรมฮินดู มีบัณฑิตจากวัดฮินดูหรืออาจารย์ผู้มีความรู้ทางฮินดูมาถ่ายทอดความรู้และประกอบพิธี จึงเชื่อได้ว่าเป็นแนวทางที่ตรงแบบฮินดูจริงๆ
กระเต็นเป็นหนึ่งในช่างศิลปะ หรือศิลปินผู้สร้างงาน พระพักตร์เทพเจ้า เริ่มจากงานต้นแบบที่นำมาจากอินเดีย เธอใช้ความรู้ออกแบบงานจนมีชิ้นงานพระพักตร์พระแม่กาลีนับสิบแบบ “ งานเราเป็นงานศิลปะ คนเอาไปเพราะต้องการสะสมและเอาไว้บูชา คนที่เข้ามาในงการใหม่ๆ จะเริ่มบูชาองค์ที่ศรัทธา พอบูชาไปแล้วเห็นว่าองค์อื่นมีความสวยงาม และปางต่างๆ มีความหมายเขาก็จะมาบูชาไปเก็บสะสมไว้ บางคนมีเป็น 10 ช้ินงาน หรือมากกว่านั้น บางคนสะสมเฉพาะด้านเช่น ด้านความรัก ด้านการเจรจา ด้านการกำจัดอุปสรรค การนำพระพักตร์ไปบูชาสามารถ บูชาร่วมกับเทวรูป คนอินเดีย เชื่อว่าพระพักตร์คือใบหน้าของเทพ บ้านที่อยู่เปรียบเสมือนร่างกายของพระองค์ การบูชาพระพักตร์ไว้ในบ้านก็เมือนการทำให้บ้านกลายเป็นพระวรกายของเทพองค์นั้นหรือปางนั้น บางคนงบประมาณไม่เยอะ บูชาพระพักตร์ธรรมดาไป แล้วไปแต่งผ้าประดับตามปางนั้นๆ เหมือนการบูชาปางที่เราศรัทธา”
หลักการบูชาพระพักตร์พระแม่กาลีเหมือนหรือต่างจากเทวรูป “การบูชาอยู่ที่คนชอบ และศรัทธา พระพักตร์คือสัญญลักษณ์แทนพระอค์ การบูชาเทพ ไม่ว่าจะเป็นพระพักตร์หรือองค์คือการบูชา เทวรูป เหมือนกัน พระพักตร์เสมือนเป็นพระวรกายของเทพ ของท่ีเอามาไหว้ คือ ของตามพื้นถิ่น ใช้ผลไม้ตามพื้นที่มาบูชา มีความเข้าใจผิดๆ อยู่มากในกลุ่นคนไทย ที่ต้องบูชาตามพระพักตร์นั้นได้แสดงออกซึ่งไม่ใช่ เช่นเมื่อเห็นพระรูปดุ มีเลือดอยู่ที่พระโอษฐ์ จะคิดว่าการบูชาต้องเอาเลือดเอาอะไรมาความจริงแล้วการบูชาที่ถูกต้อง เอาความเลื่อมใสมาบูชา ไม่ต้องเอาเลือดเอาอะไรมา
มีข้อห้ามในการบูชาไหม ? “ ข้อห้ามในการบูชาใช้ข้อห้ามปกติของ ฮินดู ตามคัมภีร์ปูรณะ ที่กล่าวถึงการตั้งเทวรูป เช่น บูชาพระพิฆเนศ ห้ามตั้ง 3 องค์ พระศิวะลึงค์ ห้าม 2 องค์ พระแม่พระนามเดียวกันห้ามบูชา 3 (มากหรือน้อยกว่านั้นได้ ) ขนาดของเทวรูป ก็แล้วแต่คนชอบ คนอินเดีย เชื่อว่า การบูชาต้องไม่ใหญ่เกินข้อศอกของเจ้าของ ถ้าองค์ใหญ่มากการปฎิบัติบูชาต้องทำให้ทั่วถึงครบถ้วน ขนาดไม่สำคัญอยู่ที่จิตใจ
จริงๆแล้วพระแม่กาลีมีกี่ปาง ?
“เยอะมากค่ะ เอาแค่ที่มีในทศมหาวิทยาก็มี 10 ปางแล้ว ยังมีอีกในชุด 108 พระนาม และ 1008 พระนาม เราเลือกทำเฉพาะองค์ที่คนทั่วไปจะรู้จัก อ่านหนังสือค้นข้อมูลว่าเทวะลักษณะของปางนั้นเป็นยังไง ออกแบบตามนั้น เช่น มารีอัมมัน กาลีจามุนฑา ที่เป็นพระแม่องค์สำคัญในอินเดีย มีรูปพระแม่ตามตำนาน เช่น ทักษิณากาลี ที่กัลกัตตา พระแม่กาลีกัฎ พระแม่ตาราปีฐ พระแม่ทักษิเณศวร ส่วนใหญ่คนที่มาบูชาพระพักตร์จะมีความรู้เกี่ยวกับพระแม่กาลีอยู่แล้ว และมีปางหรือแบบที่ชอบอยู่ในใจเช่น บางคนชอบพระแม่ปางดุ บางคนชอบพระแม่ปางหวาน กลุ่มคนที่บูชาพอเห็นพระพักตร์จะรู้ทันทีได้เองว่าเป็นองค์ไหน จะมีบางองค์กรที่อยู่ใน 108 พระนามที่คนไม่คุ้นเคยไม่ค่อยรู้ก็จะมาถาม ปางยอดนิยม คือ พระแม่ปาง ทักษิเณศวร กาลีกัฎ ตาราปีฐ มาริอัมมัน (ที่อยู่ที่วัดแขกสีลม) ภัทรกาลี (พระแม่กาลีปางดุที่มีเขี้ยว) คนไทยชอบดุๆ แรงๆ ยิ่งช่วงนี้คนมองหาภัทรกาลีกันมาก ”
ปางที่ผู้บูชาคนไทยชอบมากๆ มีปางอะไรบ้าง ? “มีปางทักษิเณศวร ปางเมตตา พระวรกายสีดำ พระพักตร์ไม่ดุ แต่มีข้อห้ามของบางวัดไม่ให้จ้องพระเนตรโดยตรงเพราะพลังท่านแรง บางคนจ้องก็ไม่เป็นอะไร บางคนไปจ้องแล้วเป็นลม บางคนจ้องแล้วไม่เป็นอะไร อย่าง พระแม่กาลีกัฎ ลิ้นสีทอง พระเนตรสีส้ม มีความเชื่อว่าบูชาแล้วพูดอะไรก็จะเป็นอย่างนั้น ขอพรได้ให้แตะที่ลิ้นท่าน หรือพระแม่ตาราปีฐ และยังมีพระแม่ 51 ศักติปิฐะ (ตามตำนานเมื่อพระแม่ศักติสิ้นพระชนม์ พระศิวะเจ้าทรงเศร้าเสียพระทัยแล้วนำร่างของพระนางเสด็จไปทั่วจักรวาล ต่อมาพระวิษณุ ได้ตัดร่างพระนางออกเป็น 51 ส่วนแล้วลอยไปยังเมื่อต่างๆ 51 แห่ง)
เคยเจอประสบการณ์อะไร หรือประทับใจอะไรในการไปสักการะ “ประสบการณ์ที่เคยเดินทางไปสักการะพระแม่ในอินเดีย คือการไปเมืองตาราภิต ตามตำนาน ดวงตาของพระแม่กาลีกระเด็นมาที่เมืองตารา มีการบูชาพระแม่ตารา ตำนานพระเนตรของพระแม่กระเด็นมาที่สุสาน ข้างล่างมีแต่กระดูกคนตาย เมืองนี้อยู่ไกลมาต้องเข้าไปในป่าลึกน่ากลัว ผมพระแม่ที่องค์มาจากผมคนตายโหง เราไปกราบแล้ว คนไทยเชื่อว่าพลังของท่านแรงมาก บ้างเรียกพระแม่กินโจร คือ ท่านพลังกำจัดคุณไสย มนต์ดำผี เพราะท่านอยู่เหนือความตาย คนจะบูชาท่าน “
มีประสบการณ์ของคนที่ต้องการบูชาพระแม่กาลีในปางที่ดุมาก เช่น ปางตัดพระเศียร เราจะแนะนำว่าปางนี้ในบางความเชื่อเขาไม่บูชาที่บ้าน ถ้าจะบูชาควรบูชาปางที่ไม่น่ากลัวมาก แต่ก็มีบางคนอยากได้ เราองว่าการสร้างสรรค์งานต้องคำนึงถึงผู้ที่นำไปบูชา ถ้ามีความเข้าใจ ก็ไม่เป็นไร เรากลัวจะเกิดการทำเลียนแบบเทวะลักษณะที่แรงซึ่งไม่เป็นเรื่องดี การทำงานศิลปะจึงดูความเหมาะสมของผู้ที่จะนำไปบูชาด้วย ความจริงคนที่เอารูปดูกลับไปก็ไม่ได้ไม่มีอะไรไม่ดีเกิดขึ้น มุมมองในการบูชาที่ชอบดุๆ มีเฉพาะในประเทศไทย ฮินดูประเทศอื่นไม่มี มีเฉพาะบ้านเรา
ไม่ว่าเราบูชาเทพองค์ไหน เราจะมีเทพองค์นั้นมาอยู่กับเรา การบูชาที่เอาปาฎิหารย์ของเทพ การจะบูชาพระเป็นเจ้าองค์ใดควรเกิดจากความศรัทธา แล้วจึงเลือกมาบูชา อย่าบูชาโดยขาดความเข้าใจหรือความรู้ อย่าบูชาด้วยความงมงาย พอบูชาแล้วทำไม่ถูกต้อง หรือบูชาแล้วไม่เกิดผลก็เอาเทวะรูปไปทิ้งที่วัดไปทิ้งตามต้นไม้ คนที่ศึกษาจนเข้าใจแล้วหาเทวะรูปมาบูชาแม้ในชีวิตพบเจอเรื่องไม่ดีแล้วไม่โทษเทพเจ้า จะบูชาเทพต่อไป
ก่อนบูชาลองถามตัวเองว่า ชอบท่านแบบไหน ชอบเพราะคุณธรรมของเทพ อย่าชอบเพียงแค่คนทักให้บูชา หรืออย่ามองว่าเทพปางนั้นเหมือนตัวเอง เลยอยากบูชาแล้วไปคิดว่า พระเป็นเจ้าเลือกให้เรามาบูชา บางคนถึงขนาดจะแต่งตัวอย่างเทพปางนั้นไปวัดแขก เพราะเขาชื่อว่าต้องแตงตัวถวายท่าน มีพระแม่กาลีปางหนึ่ง คือ พระแม่ปทุมาวดี พระแม่แห่งหมอกควัน มีพระพักตร์แก่มาก หน้าตาหน้ากลัว ตามตำนานทศมหาวิทยา ท่านเป็นหญิงม่ายมีกลิ่นตัวเหม็น มีน้องคนนึงมาบอกว่าพระแม่เลือกเขาให้เขาบูชาท่าน ให้เขาแต่งตัวเหมือนท่าน ถ้าแต่งตัวแบบท่านไปวัดแขกจะมีคนว่าไหม เราก็ถามว่าจะแต่งแบบท่านเพื่ออะไร ถ้าจะแต่งถวายแต่งอยู่บ้านก็ได้ ถ้าแต่งออกไปนอกบ้านแล้วคนทั่วไปเขาไม่รู้จัก คุณต้องยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์ที่จะเกิดขึ้นด้วย ถ้าแต่งไปคนคงมองแน่นอน พระแม่ปทุมวดี เป็นปางที่บางคนไม่บูชาในบ้านด้วยซ้ำ
“ มีเยอะที่มีจิตใจไม่มั่นคงอยากบูชาเทพ โดยคิดที่จะเอาตัวเองไปเป็นเทพเจ้า มีที่คิดไปว่าเทพบันดาลให้ชีวิตเขาเป็นแบบนั้นยากเป็นเหมือนเทพปางนั้น จึงเลือกที่จะบูชาองค์นั้น บางคนเลือกเอาองค์ที่ไม่ค่อยมีคนบูชา เช่น ปางอลักษมี คือ ด้านตรงข้ามกับพระแม่ลักษมี ความหมายก็ตรงกันข้ามกับพระแม่ลักษมีทุกอย่าง มาขอให้เราทำปางนี้ให้แต่เราไม่ทำ ใครจะทำให้ก็ให้เขาทำเพราะเรามองว่า บางทีคนที่คิดแบบนี้ความคิดเข้าเตลิดไปไกลแล้ว เขาอาจจะตีความอีกแบบ “
การเลือกบูชาพระพักตร์ ควรมีคามรู้ความเข้าใจ บูชาให้ถูกเทวะลักษณะ ไม่ใช่เอาแต่สวยงาม หรือเลือกปางหน้ากลัวแต่ไม่รู้เลยว่าจะบูชาไปทำไม บูชาแค่องคฺ์พื้นฐานอย่างละองค์ก็ได้ บูชาให้เราได้พรก็พอแล้ว ส่วนถ้าจะบูชาเพื่อลงลึกไปควรไปหาความรู้ การเลือก ทักษิเณศวร ตาราภิต กาลีกัต ที่เป็นองค์สำคัญที่มีอยู่จริง ก็พอแล้ว ถ้าเมื่อใดความศรัทธาอยู่บนความรู้และความชอบ ความศรัทธาและการบูชานั้นจะอยู่ตลอดไป …บูชาเป็นแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิต
สนใจบูชาจงหาความรู้เหมือนที่กระเต็นบอก ที่สำคัญคือ เข้าใจว่าเหตุใดถึงบูชา และพระพักตร์ มีความหมายอย่างไร เลือกในสิ่งที่ถูกต้องตามเทวะลักษณะ
ขอบคุณภาพจากร้าน อีศ อิศวร jj mall
เพจ @อีศ อิศวร