สวัสดีค่ะพี่ ๆ ทุกคน วันนี้น้องบัวบาน วันที่ 22 พฤษภาคม ที่จะถึงนี้ ประเทศไทยจะเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการ เราคงต้องโบกมือลาเจ้า “ฤดูร้อน” กันแล้วล่ะค่ะ น้องบัวบานจึงขอเอาชื่อเรียกของเจ้าฤดูร้อนในภาษาบาลีสันสกฤตมาฝากกันค่ะ
“คิมหันต์” มาจากภาษาบาลีสันสกฤต “คิมฺหาน” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายเอาไว้ว่า เป็นคำนาม หมายถึง “ฤดูร้อน” นอกจากนี้ยังมีคำว่า คิมหะ และ คิมหานะ ที่หมายถึง ฤดูร้อน อีกด้วย ส่วนฤดูฝน มีชื่อเรียกว่า “วัสสานะ” และฤดูหนาว มีชื่อเรียกว่า “เหมันต์” นั่นเองค่ะ
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
ประเทศไทยเป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อน พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถานได้อธิบายการแบ่งฤดูกาลในประเทศไทยไว้ว่า แบ่งตามลักษณะภูมิอากาศออกได้เป็น 3 ฤดู ฤดูละประมาณ 4 เดือน ได้แก่
- 1. ฤดูหนาว (กลางเดือนตุลาคม-กลางเดือนพฤศจิกายน)
- 2. ฤดูร้อน (กลางเดือนกุมภาพันธ์-กลางเดือนพฤษภาคม)
- 3. ฤดูฝน (กลางเดือนพฤษภาคม-กลางเดือนตุลาคม)
น้องบัวบานขอฝากอ่านบทความอื่น ๆ ของน้องบัวบานไว้ด้วยนะคะ : bit.ly/khamthai_BB
ขอบคุณข้อมูลจาก
- - พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554
- - คำเรียกชื่อฤดูต่าง ๆ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ป.ล. ก่อนจากกัน น้องบัวบานมีเว็บไซต์ดี ๆ มาฝากพี่ ๆ ทุกคนด้วยนะคะ
- ❤️คำทับศัพท์ใช้แบบไหน? เช็กได้ที่ระบบฐานข้อมูลคำทับศัพท์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา https://transliteration.orst.go.th/search
- ❤️คำนี้เขียนถูกไหม? เช็กได้ที่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (ออนไลน์) https://dictionary.orst.go.th/